วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

เวสสันดร : ผู้มองโลกด้วยการค้า

มหาชาติคำหลวง หรือ เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาอย่างช้านาน ในสมัยอดีคมีประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่เชื่อว่าการฟังการเทศน์มหาชาตินั้น จะทำให้ได้อานิสงส์มากมาย หากใครได้ฟังเทศน์มหาชาติ ครบทั้ง 13 กัณฑ์ จะได้อานิสงส์ไปเกิดยังสุขคติภูมิ
มหาชาติคำหลวง หรือ คาถาพัน หรือที่รู้จักกันดีคือ เรื่องมหาเวสสันดรชาดก มีรูปแบบการแต่งแบบนิสสัย คือ ยกบทบาลีมาแล้วใช้ร่ายอธิบาย บทบาลีที่นำเรื่องเรียกว่า จุณนียบท เรื่องนี้มีหลากหลายสำนวน มีมหากวีหลายท่านได้แต่ง ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญทางวรรณคดีไทยด้วย
คำว่า "เวสสันดร" มาจากภาษาสันสกฤต ว่า เวสสันตร เวส แปลว่า พ่อค้า สันตร แปลว่า ตรอก ซอย หรือ วิถีทาง หากจะตีความหมายตามเรืองนั้น ก็คือ ผู้ที่เกิดในตรอกแห่งพ่อค้า ซึ่งตรงตามเนื้อเรื่องคือ เมื่อพระนางผุสดีเดินทางมายังตรอกแห่งหนึ่งทรงปวดพระครรภ์และได้ให้การประสูติแก่พระโอรสน้อย นามว่า เวสสันดร
แต่หากเรามองอีกความหมายหนึ่งที่แฝงอยู่ในชื่อนี้นั้น คือ เวสสันดร ที่หมายถึง หนทางพ่อค้า ล่ะแม้ว่าความหมายนี้ไม่อาจจะดูไม่ดี แต่เป็นสิ่งที่น่าคิดอยู่ไม่น้อยเลยว่า ทำไมพระเวสสันดรถึงชอบบริจาคทานนัก พระโพธิญาณนั้นได้มาจากการบริจาคนั้นหรือ อย่าลืมว่า การจะได้สิ่งใดมาก็ย่อมมีการแลกเปลี่ยน ซึ่งก็หมายถึงการค้านั้นเอง พระเวสสันดร บริจาคแม้กระทั่งลูกเมียเพื่อพระโพธิญาณนั้น เหมือนการเล่นขายของ คือ พยายามขายสินค้าเพื่อจะได้ผลกำไร สินค้าคืออะไร คำตอบคือ สิ่งที่พระเวสสันดรเรียกว่าการบริจาคทาน ผลกำไรคืออะไร คำตอบคือ พระโพธิญาณนั่นไง
ประเด็นถัดมาคือ ทำไมพระเวสสันดรถึงตั้งค่าตัวของพระกัณหามากกว่าพระชาลี นี่ก็เป็นกลยุทธ์ในการขายอย่างหนึ่ง การตั้งค่าตัวพระกัณหามากๆๆเพราะพระกัณหาเป็นหญิงหรือ คำตอบคือไม่ การตั้งค่าตัวมากๆนั้นเพราะความรักในพระราชธิดามาก หากจะมาทนทุกข์ในป่าก็ใช่เรื่อง ดังนั้นถ้าใครที่จะมาไถ่ตัวสองกุมารนี้ได้ต้องเป็นผู้มีเงิน ถ้าจะมาไถ่ไปเป็นทาสนั้นคงไม่มีใครทำเหมือนกับการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ เพราะค่าตัวทั้งสองพระองค์นั้นก็มากอยู่พอควร คนที่จะมาไถ่ตัวได้นั้นเห็นจะมีอยู่สองกรณีคือ เศรษฐีผู้มีเงินมาก และ พระกษัตริย์ซึ่งพระเวสสันดรก็หวังจะให้ชูชกพาไปยังสัญชัย ชูชกจึงเหมือนไปรษณีย์เคลื่อนที่ที่จะนำสินค้าไปส่งยังปลายทาง (การกระทำแบบนี้ของพระเวสสันดร เหมือนกับการขายของแบบเก็บพกง. พัสดุเก็บเงอนปลายทาง)
ส่วนพระนางมัทรีที่รักพระสวามีเหลือกำลัง เหนือสิ่งใดๆในโลก (ดูจากตอนมัทรี ที่บอกว่า รักผัวเหมือนพ่อ) แต่พอกลับมาจากการหาผลไม้ในป่า(ตอนนี้พระเวสสันดรบริจาคสองกุมารให้กับชูชกไปแล้ว) ก็ถูกพระเวสสันดรกล่าวหาว่านอกใจ ไปหลงระเริงกับพวกคนธรรพ์ วิทยาธร หรือพวกสิทธิฤาษี แม้กระทั่งเทพารักษ์ก็ยังไปมั่ว นี่หรือการตอบแทนความรักของพระโพธิสัตว์ การตอบแทนของคนที่ถูกรักเหมือนพ่อ แต่กลับตอบแทนพระนางมัทรี ด้วยการกล่าวหาว่านอกใจ นี่อาจจะเป็นการค้าอย่างหนึ่งก็ได้ เพราะอีกไม่กี่วันพระอินทร์แปลงร่างมาเป็นมาณพน้อยของนางมัทรีพระเวสสันดร ก็ยกให้ เหมือนกับว่าขายสินค้าล้างสต๊อกยังไงยังงัน้
การค้าของพระเวสสันดรก็จบลงด้วยดี เหมือนขายดีแบบเทน้ำเทท่า เพราะพอขายสินค้าหมด กำไรก็ได้ 2 เด้ง คือเด้งแรก สองกุมารได้รับการไถ่ตัว จากพระเจ้ากรุงสัญชัย และตอนท้ายยังได้ทูลเชิญทั้งสองพระองค์(พระเจ้ากรุงสัญชัยและพระนางผุสดี)ไปรับพระเวสสันดรกลับเมือง เด้งที่สอง พระเวสสันดรได้ทานบารมี และเป็นพระโพธิสัตว์ กลับชาติมาเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แม้ว่าการขายของครั้งนี้ของพระเวสสันดรจะขายดีและจบลงความสุข เพราะได้ผลกำไรงาม แต่ความชอกช้ำจากการขายของครั้งนี้ ที่ฝั่งอยู่ในใจของพระกัณหา ที่ถึงกับตัดพ่อตัดลูกกับพระเวสสันดร และ พระนางมัทรีที่เคยจงรักภักดีขนาดรักผัวเหมือนพ่อนั้นกลับถูกโยนทิ้งความรู้สึกของความรักไปโดยสิ้นเชิง การขายของครั้งนี้อาจจะเรียกว่า กำไรงามแต่ชอกช้ำใจก็ว่าได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ด้วยรักและพันผูก

เมื่อก้าวแรกเดินมาสะพายกระเป๋า
เมื่อเดินเข้าถือหนังสือสีสดใส
เมื่อแรกเริ่มอ่านเขียนร่ำเรียนไป
ด้วยหัวใจเต็มเปี่ยมเติมวิชา





"พี่ฯ"ยืนอยู่เท้าเอวเอ่ยเสียงแจ้ว
เริ่มเรียนแล้วเปิดตำรานะน้องจ๋า
เติมเต็มเพิ่มความรู้เน้นปัญญา
หวังให้เป็นอาภารักษาตน


เมื่อวันนี้น้องรักต้องจำจาก
จำต้องพรากเพื่อให้บรรลุผล
ก้าวเข้าสู่เขตรั้วปัญญาชน
พัฒนาตนพัฒนาจิตวัฒนา
เสร็จกิจจาหน้าที่ของเรือจ้าง
ช่วยนำทางศิษย์รักจนถึงท่า
หวังให้เจ้าประสบผลมากปัญญา
เพื่อกลับมาพัฒนาชาติให้เจริญ
หมดคำสอนของครูผู้พร่ำสอน
ร้อยคำกลอนแทนคำบ่นไม่ขวยเขิน
ขอให้เจ้าเรียนสำเร็จและจำเริญ
ได้คำสรรเสริญแซ่ซร้องทุกเวลา
ขอให้เจ้าจดจำคำกล่าวสั่ง
"พี่ฯ"ยังนั่งอยู่ที่นี้ยังคอยท่า
เมื่อเจ้าเจ็บเจ้าช้ำเอือมระอา
อยากปรึกษา"พี่ฯ"จะอยู่ข้างข้างกาย
บ้านแห่งนี้ยังจะมีความทรงจำ
เมื่อเจ้าทำทุกสิ่งกับสหาย
"พี่ฯ"ยังจดและจำไม่เสื่อมคลาย
ยิ้มพริ้มพรายหัวเราะร่วนตลกกัน
Bengilityจะไม่เป็นแค่ทรงจำ
ทุกสิ่งทำเกิดพันผูกและสร้างสรรค์
"พี่ฯ" ไม่ลืมความรักความผูกพัน
จะมีกันและกันตลอดไป








กลอนนี้พี่เบนแต่งให้น้องๆปีการศึกษา 2549
ที่จะไปเป็นนิสิต นักศึกษา รหัส 50 ขอให้โชคดี ประสบความสำเร็จทุกคน


ปล. - "พี่ฯ" = พี่เบน
- ใครติดที่ไหนกรุณาแจ้งด้วยนะจ๊ะ

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ยามสงัด


เสียงสายน้ำธารานทีใส

เสียงรำไรไพรพิณพาทย์เสนาะเสียง

แว่วจักจั่นเรไรร้อยสำเนียง

ทุกทุกเสียงค่อยขับขานเรื่องพนา


เสียงราตรียามสงัดสงบนิ่ง

สรรพสิ่งถูกสะกด ณ เบื้องหน้า

เสียงลูกลิงลูกค่างระงมป่า

แสงจันทราส่องนทีสีอำพัน


ดอกสักขาวร่วงหล่นบนพรมหญ้า

ดอกชบาหุบตูมอยู่เป็นชั้น

ลมละลิ่วเคล้าพฤกษ์พนาพรรณ

ทั่วเขตขัณฑ์กลีบมาลีร่วงโปรยปราย







ศศิธรถึงเพลาลาขอบฟ้า

สุริยาชักรถม้าบอกยามสาย

วิหคน้อยกางปีกค่อยคลี่คลาย

ยามมืดหายราตรีจางสว่างพลัน

พื้นที่และเวลา




"...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เรื่องราวของสัตว์ป่าที่จะต้องเลือกเจ้าป่า เหล่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นต่างก็อวดอ้างว่าตนนั้นมีคุณสมบัติที่ดี พร้อม เหมาะสมในการที่จะเป็นเจ้าป่า..."


นิทานปรำปราเกี่ยวกับการเลือกตำแหน่งหัวหน้า เจ้าป่า หรือเทพสูงสุดนั้นมีมากมาย ลักษณะร่วมอย่างหนึ่งที่สามารถพบได้นั่นคือ การเป็นหัวหน้า ไม่ว่าสิ่งใดในโลกจำเป็นต้องมีหัวหน้าเพื่อดูแล ควบคุม และปกป้องสิ่งเหล่านั้น การเป็นหัวหน้านั้นต้องมีลักษระที่เรียกกันว่า "ผู้นำ" กล่าวคือ การเป็นผู้นำจำเป็นต้องมีบารมี ความสามารถ และต้องเป็นผู้น่าเกรงขาม สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งการเป็นหัวหน้า ต้องมี"พื้นที่" ที่แสดงความเป็นหัวหน้าด้วย หัวหน้ามักต้องอยู่บริเวณด้านหน้า หรือ ตรงกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะมองดูถึงความสง่างามและหัวหน้าสามารถมองทุกคนได้อย่างชัดเจน ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และเวลาเกี่ยวกับเรื่องหัวหน้านั้น จะพบว่า เมื่อใดที่ยังดำรงความเป็นหัวหน้านั้นพื้นที่ของด้านหน้า และตรงกลางก็มักจะเป็นของหัวหน้าเสมอ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุด คือ เวลารับประทานอาหาร ผู้ที่อยู่หัวโต๊ะมักจะเป็นหัวหน้าครอบครัว ในวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ของแม็กซิม (จิตร์ ภูมิศักดิ์ แปล)นั้นเมื่อพ่อของพาเว็ลได้เสียชีวิตลง ตำแหน่งหัวโต๊ะอาหารจึงว่างลง ในขณะที่นางเพลาเกีย แม่ของพาเว็ลมีฐานะเป็นแม่และเมียจำเป็นต้องดำรงความเป็นผู้นำของบ้านไว้นั้น พาเว็ลลูกชายเพียงคนเดียวของนางก็ได้แย่งตำแหน่งหัวโต๊ะ จะเห็นได้ว่า เป็นนัยยะที่แสดงความเป็นผู้นำของบ้านคนใหม่ การที่พาเว็ลยึดพื้นที่หัวโต๊ะอาหารได้นั้นย่อมแสดงความเป็นหัวหน้าครอบครัวคนใหม่ได้ ไม่เพียงแต่เรื่อง "แม่" เท่านั้น ในประวัติศาสตร์ไทยก็มักจะเห็นการแย่งพื้นที่ความเป็นกษัตริย์ได้อย่างชัดเจนในสมัยของอยุธยา เมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมได้สวรรคตก็มักจะเกิดการแย่งราชสมบัติกันเองภายในพระราชวงศ์ และจะถือกันว่าหากใครยึดพระราชบัลลังก์ ณ ท้องพระโรงได้ก่อนจะถือว่าเป็นผู้มีชัยชนะและได้ขึ้นเถลิงราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่


ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าพื้นที่และเวลานั้นมีความสัมพันธ์กันแบบตามปฏิทิน กล่าวคือ เวลาจะดำเนินไปตามเวลาของโลกเมื่อผู้ที่อยู่ในพื้นที่เดิทหมดวาระลง ก็จะมีคนใหม่มาอยู่ในตำแหน่งเดิมนั้น การอ้างสิทธิความชอบธรรมมักจะเป็นเหตุผลที่ใช้อ้างในการล้มล้างผู้ที่อยู่ในพื้นที่เดิม เช่นในสมัยพระนารายณ์มหาราชนั้น เมื่อพระองค์สวรรคตลงตามธรรมเนียมลูกเลี้ยง (พระปีย์)น่าจะได้ขึ้นครองราชย์ แต่ก็ถูกพระเพทราชาทำการปลงพระชนม์ด้วยเหตุผลที่ว่าพระปีย์อยู่ในศาสนาอื่นไม่สามารถจะปกครองอยุธยาได้


แม้พื้นที่และเวลาจะหมุนเปลี่ยนไปตามกาลเวลานั้น พื้นที่มักจะสัมพันธ์กับเวลา หากว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไม่ถึงเวลาที่จะอยู่ในพื้นที่นั้นหรือไม่มีความสามารถที่จะอยู่ในพื้นที่นั้นก็ต้องจำยอมต้องย้ายไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ เมื่อถึงเวลา บารมีมากพอและมีความสามารถ เราก็จะสามารถไปยืนอยู่ในพื้นที่ใหม่ได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคนหนึ่งสามารถยืนอยู่ในพื้นที่ของหัวหน้า และอีกคนหนึ่งยืนอยู่ในพื้นที่ของผู้ตาม นั้นเป็นเพราะความสัมพันธ์ของพื้นที่และเวลานั่นเอง

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

หลักการเป็นศิษย์เก่าที่ดี





1. ศิษย์เก่าต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง












2. นานๆกลับมาเยี่ยมโรงเรียน = ลูกรัก มาเยี่ยมโรงเรียนบ่อย = ลูกชัง










3. เมื่อมีงานโรงเรียนให้กลับมาทำ (ถ้าปฏิเสธจะเป็นศิษย์อกตัญญู)






4. ต้องเสือกเข้ามาทำงานเอง (ไม่มีคำว่าไม่รู้)




5. เก็บเงินเพื่อพัฒนาตัวเอง = ผิดศีลธรรม เก็บเงินเพื่อซื้อของให้โรงเรียน = มีจรรยา








6. "คิงหยั๋งมาง่าว" = เวลาทำงานพลาด







7. ชมเชย = ได้หน้า ถูกด่า = ทำพลาด (คงรู้นะว่าใครได้)




8. กำไร = ไม่มีในโรงเรียน ขาดทุน = มีจริงและทุกครั้ง






9. ต้องทำใจ และ ทำเงิน ให้โรงเรียน






10. ความภาคภูมิใจของศิษย์เก่า = "แล้วเข้ามาเสือกอะไรอีก จบไปแล้วไม่ใช่หรอ"


[B][en][g][i][li][ty]--Memorize

[B][en][g][i][li][ty]--Memorize
ทุกคำบรรยายเพียงจับจ้องและสัมผัสด้วยใจ