วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2550

มีแต่รูปและก็รูป
















คือเขียนมาเยอะแล้วเอารูปไปดูกันบ้าง อาจจะมีหลงตัวเองบ้างก็อดทนดูกันต่อไปล่ะกัน













ขุนแผนแสนวิปลาส

เรื่องขุนช้าง-ขุนแผนนี้เป็นวรรณคดีเก่าแก่ของไทยซึ่งเป็นความรักสามเส้าระหว่างขุนช้าง ขุนแผน และนางพิมพิลาไลย(นางวันทอง) เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยอาศัยเค้าเรื่องจริงดังนั้นตัวละครของเรื่องนี้จึงมีลักษณะเป็นตัวละครตัวกลม มีหลากหลายบุคลิกในตัวเดียว การศึกษาพฤติกรรมตัวละครจึงมีประโยชน์อย่างมากในการอ่านวรรณคดีเรื่องนี้ ในตอนที่ 16 นี้เป็นตอนที่ขุนแผนมีความคับข้องใจต่อพระราชอำนาจของพระพันวษา และอำนาจของขุนช้างที่สามารถต่อรองกับพระพันวษาได้
ขุนแผนจากผู้ที่เคยมีความดีความชอบและมีอำนาจเมื่อครั้งได้ไปรบที่เชียงใหม่ ในตอนนี้กลับถูกลงโทษโดยพระพันวษาซึ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด ซึ่งขุนแผนก็ไม่สามารถขัดต่ออำนาจที่มีมากกว่าได้จึงต้องถูกลงโทษโดยการไปลาดตระเวนป่า ความไม่มีความยุติธรรมนี้ทำให้ขุนแผนเคียดแค้นในตัวพระพันวษามากแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะพระพันวษานี้มีอำนาจเหนือตนเองมาก ในขณะที่ความเคียดแค้นในตัวขุนช้างก็มีมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะขุนช้างได้ไปเพ็จทูลเรื่องขุนแผนหนีเวรจึงต้องโดนลงโทษในครั้งนี้ แม้ขุนแผนจะเก่งกล้าเพียงใด มีเวทมนต์คาถาแข็งแกร่งขนาดไหนแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะอำนาจของพระพันวษานั้นสามารถตัดสินชีวิตคนได้ ในขณะที่ขุนช้างมีอำนาจต่อรองมากกว่าขุนแผน เพ็ดทูลเรื่องอะไรก็ดูน่าเชื่อกว่า ความเคียดแค้นนี้ทำให้ขุนแผนคิดที่จะเอาทุกอย่างคืน และจะเอาทางวันทองคืนมาด้วย “ กูจะไปลักวันทองของกูมา ถ้าติดตามแล้วจะฆ่าเสียให้ป่น “(1) ดังนั้นขุนแผนจึงต้องแสวงหาอำนาจนอกระบบ นั่นคือ การตีดาบซื้อม้าหากุมาร ขุนแผนคิดว่าการที่ได้ของวิเศษทั้งสามสิ่งนี้จะเพิ่มอิทธิฤทธิ์ และในขณะเดียวกันนั้นก็เป็นการสร้างกำลังใจ เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง “ ถ้าสามสิ่งนี้ได้สมอารมณ์นึก จะอึกทึกมาอย่างไรก็ไม่กลัว “ (1)
การเสาะแสวงหาของวิเศษจึงดำเนินการขึ้น โดยขุนแผนเข้าป่าอย่างไม่มีจุดหมาย จนกระทั่งเข้าไปพบนางบัวคลี่ที่ซ่องโจรของหมื่นหาญ ความคิดที่มุ่งไปอย่างไร้จุดหมายของขุนแผนก็หยุดลงพร้อมๆกับ ที่กำลังวางแผนเพื่อให้ได้ซึ่งของวิเศษมา ขุนแผนพบนางบัวคลี่นั้นก็แสดงจุดมุ่งหมายในความต้องการของวิเศษมากกว่าที่จะรักนางบัวคลี่ “ พินิจน้องก็ต้องตำรับนัก เข้าประจักษ์แจ้งจริงทุกสิ่งสรรพ์ ถ้าเกิดบุตรหัวปีมีด้วยกัน แม่นมั่นคงเป็นชายเหมือนหมายมา “ (3) จะเห็นว่าการแสดงจุดมุ่งหมายของขุนแผนนั้นมีความต้องการลูกชายที่จะต้องเกิดกับนาง และขุนแผนก็ต้องได้อย่างที่คิดไว้ นางบัวคลี่จึงเป็นเหมือนเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการที่จะได้ของวิเศษมา แผนในขั้นต่อมาคือการแกล้งเป็นคนที่ไม่มีวิชาอาคมและเข้าช่วยเหลือหมื่นหาญจนต้องยกนางบัวคลี่ให้ซึ่งแผนนี้ก็สำเร็จไปด้วยดี จะสังเกตว่าขุนแผนเริ่มได้รับการตอบสนองจากแผนของขุนแผนทำให้ความคับข้องใจนั้นถูกเก็บเอาไว้ภายใต้จิตใจที่ยังปรารถนาในของวิเศษ เพราะในขั้นต้นนี้ทำให้ขุนแผนพอใจในระดับ และจะเป็นจุดที่ทำให้ขุนแผนได้อำนาจและทุกสิ่งทุกอย่างกลับมา ในแผนขั้นสุดท้ายนั้นขุนแผนได้ใช้ความยียวนทำให้หมื่นหาญและนางจันทน์นั้นไม่พอใจในตัวขุนแผน แผนนี้เป็นจุดที่ก่อให้เกิดการวางแผนฆ่าขุนแผน ซึ่งก็จะทำให้ขุนแผนนั้นมีความชอบธรรมในการฆ่านางบัวคลี่ ในขั้นนี้ขุนแผนแสร้งทำตัวเป็นผู้ชายไม่เอาไหนที่ต่างกับพวกบ่าวไพร่ที่ออกไปปล้นชิงทรัพย์มาเลี้ยงซ่องโจรของหมื่นหาญ โดยอ้างว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการผิดศีลธรรม จากคำพูดของขุนแผนในตอนนี้ทำให้เห็นว่าในสภาวะจิตปกตินั้นขุนแผนเองก็มีมโนธรรมในการดำเนินชีวิต จากนั้นจึงมีการโต้เถียงกันระหว่างพ่อตาและลูกเขยแม้หมื่นหาญนั้นจะด่าทอ ถากถางอย่างไรนั้นขุนแผนก็ไม่รู้สึกโกรธอย่างจริงจัง เพียงแต่พูดตอบต่อด้วยการยอกย้อน แต่เมื่อหมื่นหาญพูดถูกถึงศักดิ์ศรีของความเป็นชายนั้น ขุนแผนก็เดือดดานขึ้นมาจริงๆ “ เหมือนตัวเอ็งอ้อนแอ่นแค่นอวดอ้าง ดูกิริยาท่าทางอย่างผู้หญิง “ (12) ขุนแผนก็โกรธขึ้นมา การดูหมิ่นในความเป็นชายเป็นเหตุให้ขุนแผนต้องมีการปะทะกำลังกับคนในซ่องโจร การกระทำเช่นนี้ทำให้แผนขุนแผนลุล่วงไปได้ด้วยดีกว่าที่ขุนแผนคิด คือ ประการแรกลูกน้องของหมื่นหาญนั้นเกรงกลัวอำนาจ อิทธิฤทธิ์ของขุนแผน เป็นผลให้ตอนท้ายของตอนนี้ลูกน้องของหมื่นหาญไม่กล้าที่จะทำร้ายขุนแผน เหมือนเป็นการตัดไม้ข่มนามเอาไว้ก่อน ประการสำคัญคือ ทำให้แผนในการสร้างความชอบธรรมในการฆ่านางบัวคลี่ประสบความสำเร็จ เพราะเมื่อปะทะกำลังกันแล้วหมื่นหาญก็คิดฆ่าขุนแผนด้วยเพราะหมื่นหาญนั้นคิดว่า ราชสีห์สองตัวอยู่ด้วยกันไม่ได้ แผนลวงฆ่าขุนแผนจึงมีขึ้นโดยหมื่นหาญนั้นได้ให้นางบัวคลี่เป็นผู้ใส่ยาพิษในกับข้าวของขุนแผนแต่ขุนแผนรู้ทัน จึงเป็นข้ออ้างอันดีที่จะฆ่านางบัวคลี่ได้อย่างไม่รู้สึกผิด นางบัวคลี่ซึ่งมีความอยากได้ในทรัพย์สินเงินทอง ที่หมื่นหาญเสนอให้จึงตกเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการฆ่าขุนแผน นางบัวคลี่นั้นเหมือนจะเป็นเหยื่อของความสำเร็จของผู้ชายถึงสองคน คือ ขุนแผน และ พ่อ(หมื่นหาญ) ในขณะที่ขุนแผนซึ่งเป็นสามีกับหมื่นหาญที่เป็นพ่อ นางบัวคลี่ก็ไม่ได้เลือกเพราะความสัมพันธ์ทั้งสองอย่างแต่เหตุผลที่นางเลือกที่จะฆ่าขุนแผนนั้นเพราะความโลภต่อทรัพย์สมบัติต่างหาก โดยใช้ความกตัญญูเป็นข้ออ้างและนางบังคลี่เองก็ไม่ได้รักขุนแผนตั้งแต่ต้นแต่เป็นเพียงแค่ความหลง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นางบัวคลี่จะตัดสินจอย่างรวดเร็วในการที่จะลงมือฆ่าขุนแผน “ กำลังรักพลายแก้วดังแววตา แต่อยู่มาไม่กระเดื่องเคืองอารมณ์ แต่ใจนึกมักมากอยากได้ของ ด้วยพ่อเอาเงินทองเข้าทับถม เป็นอกุศลดลจิตคิดนิยม จะต้องตายทั้งกลมจึงกลับใจ “ (16)
เมื่อนางบัวคลี่ใส่ยาพิษในกับข้าวของขุนแผนแต่ขุนแผนก็แสร้งว่าตัวเองนั้นโดนยาพิษรู้ไม่ทันแผนของนางบัวคลี่ นางบัวคลี่จึงวางใจ ก่อนที่ขุนแผนจะนอน ขุนแผนก็ได้ขอลูกจากนางบัวคลี่ ซึ่งนางก็ให้ ความปรารถนาของขุนแผนก็เป็นจริง ความคับข้องภายในจิตใจของขุนแผนก็เริ่มคลายออกมาพร้อมกับการกระทำที่ก้าวร้าว ทารุณ ในทางจิตวิเคราะห์นั้นจะเห็นว่า แรงกระตุ้นในตัวขุนแผนมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่เจอนางบัวคลี่จนจะฆ่านางบัวคลี่ แรงกระตุ้นที่อยากได้กุมารทองนั้นมีมากกว่าแรงต้านทานของมโนธรรม ขุนแผนเลยยิ่งฆ่านางบัวคลี่อย่างไม่รู้สึกผิดบาปได้
ในขณะที่ฆ่านางบัวคลี่นั้นขุนแผนก็ได้เป่าคาถาให้นางบัวคลี่หลับ และฆ่านางบัวคลี่ด้วยการใช้มีดปักอกและผ่าลงมาถึงท้อง นักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งอธิบายว่าความวิปริตทางเพศชนิดทำให้ผู้อื่นเจ็บที่เรียกว่า ซาดิสม์นี้ จะแสดงออกมารุนแรงถึงขั้นฆาตกรรมได้เนื่องจากความรักและความเกลียดซึ่งมีอยู่ควบคู่กันในจิตใต้สำนึก ในการแสดงออกจึงมีทั้งการแสดงความรักและการทำให้เจ็บอย่างรนแรงถึงที่สุดซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (ชลธิรา : 2512 ,116) ก่อนลงมือฆ่านั้นขุนแผนยิ่งทำให้นางบัวคลี่ตายใจว่าขุนแผนไม่รู้เท่าทัน และทำให้นางตายใจ “ เจ้าพลายแก้วอิงแอบเข้าแนบห้อง กอดจูบลูบต้องให้ตายใจ “ (18) ในขณะที่จะลงมือฆ่านั้นแรงกระตุ้น(ความอยากได้กุมารทอง)และแรงต้านทาน(ความสำนึกผิดบาป)นั้นได้ผลักดันให้ขุนแผนเกิดการสับสนเพราะการกระทำของนางบัวคลี่เป็นตัวกระตุ้นให้แรงกระตุ้นความคับข้องใจที่อยู่ภายใต้จิตใจของขุนแผนนั้นระเบิดออกมา แต่แรงต้านทานของความสัมพันธ์ระหว่างผัว เมีย นั้นก็มีอยู่ สุดท้ายแรงกระตุ้นซึ่งมีมากกว่าแรงต้านทานจึงทำให้ขุนแผนต้องฆ่านาง “ ยืนขึ้นบนเตียงเข้าเคียงข้าง พินิจนางนิ่งนอนถอนใจใหญ่ ไม่รู้เลยว่าร่างมันร้างใจ จะฆ่าผัวเสียได้ช่างไม่คิด และชักมีดตั้งท่าง่าขยับ ใจกลับมืออ่อนสะท้อนจิต และกลับนึกขึ้นถึงนางวางยาพิษ เอาชีวิตเสียเถิดอย่าไว้มัน “ (18-19) ในที่สุดความคับข้องใจโดยเฉพาะความปรารถนาที่จะทำร้ายนั้นก็รวบรวมเป็นแรงผลักดันให้การกระทำอันโหดร้าย ทารุณ และรุนแรง ซึ่งเกิดจากสัณชาตญาณมุ่งตาย(ชลธิรา : 2512,117) ดังคำบรรยายที่ว่า “ เอามีดกร่ำตำอกเข้าต้ำอก เลือดทะลักหลวมทะลุตลอดสัน นางกระเดือกเสือกดิ้นสิ้นชีวัน เลือดก็ดิ้นดาดแดงดังแทงควาย”(19) ขุนแผนจะสะกดให้นางหลับแต่บทกลอนกลับสะท้อนให้เห็นถึงการตายอย่างทุลทุลาย “...กระเดือกเสือกดิ้นสิ้นชีวัน...”(19) โดยที่ขุนแผนก็เห็นแต่ขุนแผนก็ไม่มีความรู้สึกผิดบาปแต่กลับเป็นพลังให้แรงกระตุ้นในตัวขุนแผนให้แสดงออกความก้าวร้าวออกมาอีก ความรุนแรงของขุนแผนนั้นไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงแค่การฆ่านางบัวคลี่เท่านั้น สิ่งที่ทำให้ขุนแผนคับข้องใจมาก คือ การอยากได้ลูกในท้องของนางบัวคลี่ ขุนแผนจึงแสดงการกระทำซึ่งผิดปกติทางจิต ภายใต้จิตสำนึกซึ่งต้องการลูกซึ่งต้องการลูกชายมาทำกุมารทอง “ แล้วผ่าแผ่แล่แล่งตลอดอก แหวะหวะฉะรกให้ขาดสาย พินิจแน่แลเห็นว่าเป็นชาย ก็สมหมายดีใจไม่รั้งรอ อุ้มเอาทารกยกจากท้อง กุมารทองมาเถิดไปกับพ่อ “(19) การกระทำของขุนแผนที่ทำให้เห็นถึงความวิปริตทางจิตของขุนแผนนั้นไม่ได้เริ่มที่จะมีแต่มีมานานแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากความคับข้องใจในความอยากได้ของวิเศษทั้ง 3 อย่าง การกระทำที่สะท้อนสภาพจิตของขุนแผนนั้นเริ่มจากการที่หาหนทางอย่างไร้จุดหมายกระเซอะกระเซิงอยู่ในป่าด้วยสภาพจิตที่ไม่เป็นปกติ “ เที่ยวค้นคว้าหาของที่ต้องอย่าง นอนค้างไปตามตรอกซองสิงขร เข้าบ้านกะเหรี่ยงข่าละว้ามอญ สู้ซอกซอนซุกซนเที่ยวค้นไป” (2) จนกระทั่งขุนแผนฆ่านางบัวคลี่อย่างไร้สำนึกผิดบาป และที่สำคัญการกระทำย่างกุมารเป็นภาพที่น่ากลัวและคนปกติที่มีจิตปกติไม่สามารถทำได้ ที่ขุนแผนทำได้นั้นอาจเพราะว่า ขุนแผนถูกแรงกระตุ้น ผลักดันออกมาก็เป็นได้ จิตใต้สำนึกของขุนแผนมีแต่ความคับข้องใจในความอยากได้ของวิเศษเพื่อที่จะทำให้ตนกลับมามีอำนาจดังเดิม อีกประการหนึ่งก็คือ จิตขิงขุนแผนนั้นเฝ้าคิดแต่จะเพิ่มอิทธิฤทธิ์ให้กับตนเองเพื่อไปทวงสิทธิ์และความยุติธรรมคืนจากพระพันวษาและขุนช้าง การที่ขุนแผนแหวะท้องเอาลูกของตนเองเอามาทำกุมารทองอย่างไม่สะทกสะท้านนั้นเพราะขุนแผนมีความคิดถึงความยุติธรรม ความจงรักภักดี ศักดิ์ศรีของผู้ชายเหนือความสัมพันธ์ของพ่อลูก กุมารทองจึงเปลี่ยนไปจากความสัมพันธ์พ่อลูก แต่กลับเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ของนายและบ่าว การมีกุมารทองนั้นจะทำให้ตนเองได้รับความยุติธรรมจากพระพันวษาและศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายที่ถูกแย่งเมียไปกลับคืนมา ในขณะที่ขุนแผนยกข้ออ้างในความชอบธรรมในการฆ่านางบังคลี่ แหวะท้องเอากุมาร อีกประการหนึ่งคือ การอ้างตำราในการทำ
พฤติกรรมของขุนแผนในกรณีที่ฆ่าบัวคลี่และย่างกุมารทองนี้ ตามความเข้าใจหรือความเชื่อถือที่มีมากแต่เดิม จัดว่าเป็นพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ผู้อ่านทั่วไปจึงมักจะพิจารณาว่าขุนแผนมิได้ทำสิ่งที่ผิดปกติ หากทำไปตามความเชื่อถือซึ่งมีมาแต่โบราณ ดังนั้นการฆ่าโดยผ่าท้องและนำตัวทารกออกมาจากครรภ์จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่โหดร้ายทารุณ เพราะตามคำบรรยายก็แสดงวิธีย่างว่า “พร้อมสันในตำราถูกท่าทาง” (ชลธิรา : 2512,118)
แม้ขุนแผนจะอ้างตำราซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ถูกใครๆก็ทำได้ ถ้าทำตามตำรากล่าวไว้ แต่หากมองในเรื่องของจิตนั้นขุนแผนมีสภาพจิตที่ไม่ปกติ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นการกระทำโดยที่ขุนแผนไม่รู้ตัว หรือ เป็นการแสดงออกโดยมีแรงกระตุ้นควบคุมอยู่ สิ่งที่กระตุ้นให้ขุนแผนฆ่านางบัวคลี่ คือความคับข้องใจ ซึ่งเกิดจากนางไม่ซื่อสัตย์ต่อตน (ชลธิรา : 2512,118) การกระทำของขุนแผนเช่นนี้เป็นการหาเหตุผลจากสิ่งแวดล้อมหรือโลกภายนอกให้เข้าข้างตนเอง (Rationalization) เป็นการหลบหลีกหรือหลบเลี่ยงความรับผิดชอบของตนเอง โดยโยนความรับผิดชอบไปให้คนอื่นหรือลงโทษบุคคลอื่นแทน (ซึ่งในที่นี้คือการฆ่านางบัวคลี่) เพื่อลงมือกระทำสิ่งที่ Superego ไม่พึงพอใจได้อย่างสะดวกใจ ในการกระทำดังกล่าวบุคคล (ขุนแผน) จะอยู่ในสภาพไร้สำนึก (ชลธิรา: 2512,29) ซึ่งนอกจากนี้แล้วขุนแผนยังได้ใช้วิธีป้ายผิดให้กับนางบัวคลี่ กล่าวคือ ขุนแผนพยายามเปลี่ยนความรู้สึกของมโนธรรม ความรู้สึกผิดบาป ให้กลายมาเป็นความชอบธรรมในการฆ่าเพื่อตอบสนองความต้องการภายในจิตใต้สำนึก ดังในตอนหนึ่งที่ขุนแผนลังเลใจในการฆ่านางบัวคลี่ “ แล้วชักมีดตั้งท่าง่าขยับ ใจกลับมืออ่อนสะท้อนจิต แล้วกลับนึกถึงนางวางยาพิษ เอาชีวิตเถิดอย่าไว้มัน “ (19) พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการเก็บกดของขุนแผนที่มีมาตั้งแต่เด็ก ขุนแผนพยายามอดกลั้นหรือหน่วงเหนี่ยวแรงกระตุ้นโดยบิดเบือนความทรงจำในวัยเด็กที่ครอบครัวต้องมีสภาพแบบครอบครัวแตกแยกนั้น ขุนแผนพยายามกดเรื่องเลวร้ายนี้ให้ลงไปในส่วนลึกของจิตใจ ด้วยความขมขื่นใจที่ขุนแผนไม่มีพ่อ และด้วยเหตุนี้เองขุนแผนจึงต้องหาสิ่งที่มาทดแทนและเลียนแบบ คือต้องหาต้นแบบให้กับความเป็นชาย จึงมักจะพยายามเลียนแบบคนที่มีบุคลิกลักษณะเหมือนพ่อในอุดมคติ ในทางจิตวิทยาเรียกว่า Identification คือ การปรับตัวเองให้เหมือนผู้อื่น
ผู้ที่มีบทบาทในการเป็นต้นแบบมี 2 คน คือ พระพันวษาและท่านสมภารวัดป่าเลย์ไลย์ ทั้งสองคนเป็นต้นแบบทั้งทางด้านจิตในและความคิดของขุนแผนตลอดมา ท่านสมภารเป็นคนที่ปลูกฝังในเรื่องของวิชาความรู้และอบรมสั่งสอนในเรื่องของศีลธรรมจรรยา เป็นผู้ที่สร้างทัศนะของขุนแผนเป็นแบบอย่างของมาตรฐานคุณความดี ซึ่งทางจิตวิทยาเรียกว่า Ego Ideal หรือ อุดมคติ (ชลธิรา: 2512,19) แต่ท่านสมภารนั้นขุนแผนก็ไม่ได้เลือกนำมาเป็นแบบอย่างทั้งหมด เพราะจิตใต้สำนึกของขุนแผนจริงๆแล้วต้องการอำนาจ เพราะเมื่อครั้งยังเป็นเด็กนั้นขุนแผนก็ได้เห็นแล้วว่าอำนาจบันดาลได้ทุกอย่าง กล่าวคือ อำนาจสามารถทำให้ครอบครัวขุนแผนมีความสุข และอำนาจอีกเช่นเดียวกันที่ทำให้ครอบครัวของขุนแผนต้องแตกขาดกันไป ตัวอย่างของอำนาจดังกล่าวนั่นก็คือ พระพันวษานั้นเอง พระพันวษาเป็นตัวแทนของแม่แบบหรือพ่อในอุดมคติของขุนแผน ขุนแผนต้องการมีอำนาจเช่นเดียวกับพระพันวษา เพราะจิตใต้สำนึกของขุนแผนรู้ดีว่าความสุขและสิ่งต่างๆจะได้เพราะอำนาจ ในขณะที่พระพันวษาเป็นความต้องการลึกๆของจิตใจ แต่ขุนแผนกลับถูกสั่งสอนมโนธรรม โดยท่านสมภาร ดังนั้นเมื่อมีโอกาสขุนแผนจึงมักฉวยโอกาสนั้นไว้เพื่อสร้างอำนาจให้กับตัวเองตลอดมา เช่นเดียวกับการออกแสวงหาอำนาจนอกระบบ โดยมีความต้องการในอำนาจ ของตัวเองเป็นตัวควบคุม ดังนั้นพฤติกรรมก้าวร้าวและทารุณของขุนแผนจึงเป็นเหมือน ตัวแทนการแสดงออกในสิ่งที่ขุนแผนเก็บกดมาทั้งชีวิต นั่นคือ ความไม่มีพ่อ และ การแสวงหาอำนาจ ในขณะที่หมื่นหาญเป็นคนที่ทำให้ถึงความก้าวร้าวในการใช้กำลังในการช่วงชิงในของที่ตนอยากได้ ซึ่งขุนแผนก็เลียนแบบหมื่นหาญโดยการช่วงชิงโดยใช้กำลังเหมือนกัน คือ การฆ่านางบัวคลี่ โดยที่ขุนแผนไม่ได้มีสำนึกความผิดบาปเพราะมีตัวอย่างให้เห็นหมื่นหาญปล้าชิงทรัพย์หาเลี้ยงชีพ ขุนแผนก็ฆ่านางบัวคลี่เพราะอยากได้กุมารซึ่งขุนแผนก็เลียนแบบความรุนแรงมาจากหมื่นหาญอีกทางหนึ่งด้วย
พฤติกรรมทั้งหมดของขุนแผนนั้นเป็นไปตามหลักของการให้สมปรารถนา(Wish-fulfillment)(ชลธิรา: 2512,16) ของสัญชาตญาณโดยไม่มีการต้านทานของมโนธรรม ความผิดปกติของจิตใต้สำนึกที่มีแรงกระตุนมากกว่าแรงต้านทาน คือ มีความอยากได้ในของวิเศษมากกว่าความรู้สึกผิดบาปหรือมโนธรรม ก็มีปรากฏอยู่ในจิตใต้สำนึกของขุนแผน และถูกเสนอออกมาในรูปแบบของความก้าวร้าวและทารุณจนทำให้ขุนแผนกลายเป็นฆาตกรที่กระทำการอย่างโหดร้ายผิดปกติ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะสัญชาตญาณมุ่งตายถูกเร้าโดยความคับข้องใจในความอยากได้กุมารทอง และถูกรบเร้าอย่างรุนแรงจากแรงกระตุ้นภายในใจ จึงทำให้ขุนแผนมีจิตใจวิปลาสไปชั่วขณะหนึ่งก็เป็นได้

ม่านมุ้ยเชียงตา : ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชนชาติสุวรรณภูมิ (ตอนที่ 1)

เสียงพิณพาทย์เครื่องผสมดังแว่วมา พร้อม ๆ กับช่างฟ้อนตัวบางร่างน้อย รีบออกมาฟ้อนตามจังหวะเพลง “ปูเดเส โอมะเพ่ เฮเฮเฮ่ มิสมาตามาต่า มาเล่” เสียงเพลงสำเนียงพม่าแบบเพี้ยน ๆ จนพม่าจริง ๆ ฟังไม่ออกดังมาพร้อมกับวงพิณพาทย์ หญิงสาวน้อย สาวใหญ่ นุ่งซิ่นรุนตยาสีชมพู ตัดกับผ้าคล้องคอสีฟ้า ออกมาฟ้อน คงจะเป็นฟ้อนอื่นไม่ได้นอกจาก ฟ้อนม่านมุยเชียงตา ชื่อฟ้อนก็ประหลาดเสียจริง แต่ที่แน่ต้องเป็นของพม่าเป็นแน่แท้ เพราะมีคำว่า “ม่าน” ม่านเป็นคำที่ชาวเชียงใหม่เรียกพม่า
ใครที่จบโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพแล้วไม่รู้จักฟ้อนม่านมุยเชียงตา นับว่าเสียชาติเกิดที่มาเป็นลูกฟ้า-ขาว เสียเปล่า เพราะโรงเรียนแห่งนี้ตามประวัติศาสตร์แล้วเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้ฟ้อนชนิดนี้ เพราะพระราชชายาเจ้าดารารัศมีประทานครูหลง ครูฟ้อนเมืองที่ร่วมประดิษฐ์ท่ารำกับพระองค์ท่านมาเป็นครูสอนฟ้อนที่โรงเรียนแห่งนี้
คำว่า ม่านมุยเชียงตา นั้นเป็นคำที่ถูกต้องแล้ว ต่อมาเพี้ยนหนักเป็นม่านมุ้ยเชียงตา มีคนเคยบอกว่า ฟ้อนม่านมุยเชียงตาไม่ได้ เพราะคำว่า มุย แปลว่า ค้อน คำตอบของท่านผู้นี้เป็นไปไม่ได้เลย เพราะคนที่ได้ต่อท่าฟ้อนและใกล้ชิดกับครูหลงทุกคนต่างพูดตรงกันว่าฟ้อนนี้ชื่อ ฟ้อนม่านมุยเชียงตา พระราชชายาพระองค์ท่านได้แบบอย่างฟ้อนนี้มาจาก ฟ้อนกำเบ้อของพระราชสำนักพม่า ในครั้งนั้นก็ได้ประดิษฐ์ฟ้อนขึ้น 3 ฟ้อน พร้อมกันคือ ม่านมุยเชียงตา ม่านเม่เล้ โยคีถวายไฟ ทั้งเนื้อร้องและทำนองเพลงก็คล้าย ๆ กัน แล้วแต่ว่าโอกาสที่จะใช้ ม่านมุยเชียงตาแปลว่าอะไร คำถามนี้ยังเป็นคำถามคาใจของนักวิชาการและช่างฟ้อนทุกคน ไม่มีหลักฐานว่าเป็นฟ้อนจากที่ใด คนไทยเห็นว่ามีเนื้อร้องเป็นภาษาพม่าก็เดาว่าเป็นของพม่า พอไปถามพม่าเข้าจริง ๆ พม่าก็ว่าไม่ใช่ เป็นของโยเดีย ต่างหาก(โยเดีย คือ อยุธยา ) จากการศึกษาและร่วมกันแปลของอ.ฉัตรยุพา สวัสดิพงษ์ และ อ. อุบลรัตน์ พันธุมินทร์ ทำให้เข้าใจว่า ม่านมุยเชียงจตา หมายถึงอะไร คำว่าม่านแปลว่า พม่า ซึ่งการเติมเข้ามาเพื่อบอกว่าเป็นการฟ้อนที่มาจากพม่า ส่วนคำว่า มุยเชียงตา ตรงกับคำว่า เวชไชยันต์ ซึ่งหมายถึง ประสาทของพระอินทร์ จากการร่วมกันแปลเนื้อร้องของฟ้อนนี้ยังทำให้เข้าใจว่าทำไมจึงแรกฟ้อนนี้ว่าฟ้อนนี้ว่าฟ้อนกำเบ้อ เพราะเนื้อหาของเนื้อร้องกล่าวถึง ผีเสื้อที่อาศัยอยู่ในปราสาทเวชไชยันต์ต่างมีความสุข เริงร่า เพราะปราสาทแห่งนี้อุดมไปด้วยธรรมชาติ
แต่พวกคนที่ไม่เข้าใจก็มักตีความไปแบบแปลก ๆ เช่น เพราะแต่งตัวคล้ายผีเสื้อ (เสื้อของช่างฟ้อนจะมีจะงอยออกมาด้านข้างคล้ายปีก แต่ความเป็นจริงจะงอยนั้นเป็นรูปแบบของเสื้อพม่าอยู่แล้ว) ก็เลยให้ชื่อว่าฟ้อนกำเบ้อ หรือมีท่าฟ้อนคล้ายผีเสื้อก็เลยให้ชื่อว่าฟ้อนผีเสื้อ(กำเบ้อ) ซึ่งข้อสันนิษฐานข้อหลังนี้ไม่น่าเป็นไปได้ที่สุด หากใครเคยได้เห็นหรือได้เคยฟ้อน ก็จะพบว่าฟ้อนนี้ท่าส่วนใหญ่ออกไปท่าร่าเริง เป็นท่าตบแปะ ท่าหมุนรอบตัว แม้กระทั่งท่าต่อตัวก็ล้วนแล้วแสดงถึงความร่าเริงทั้งสิ้น ส่วนในข้อสันนิษฐานจากเครื่องแต่งกายก็เห็นจะไม่เป็นจริงเพราะ จากพระราชชายาเองนั้นต้องการให้แต่งกายตามแบบพม่า คือ นุ่งซิ่นรุนตยา เสื้อแขนกระบอกมีจะงอยด้านข้าง และคล้องผ้าสีต่าง ๆ เกล้าผมสูงปล่อยปอยผมข้างหนึ่ง มีอุบะย้อยด้านผมปอย ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงการแต่งกายเลียนแบบผีเสื้อแต่อย่างใด คนที่ยังพอตอบคำถามเกี่ยวกับฟ้อนนี้มีน้อยเหลือเกินที่เห็นจะเป็นที่รู้จักกันก็ท่านหนึ่งก็เป็นครูสอนฟ้อนของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ซึ่งเกษียณออกไปได้ไม่นาน แม่ครูเฉลิมศรี พรหมสุวรรณ หรือ ป้าเหลิม ลูกศิษย์ก้นกุฏิ แต่จริง ๆ ต้องเรียกว่า ก้นตำหนักพระราชชายา อีกท่านหนึ่ง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ คุณหญิงสวาท รัตนวรหะ ลูกศิษย์แฟนพันธุ์แท้ของครูหลง ซึ่งเป็นผู้เดียวที่ยืนยันนอนยันว่าต้องเป็นม่านมุยเชียงตา ไม่ใช่ม่านมุ้ยเชียงตา
ประวัติของฟ้อนนี้เราไม่สามารถค้นไม่ได้มากกว่านี้แล้ว เพราะไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร อีกทั้งครูฟ้อนนั้นก็เฒ่าแก่ ม้วยมรณากันไปเสียหมด ความทรงจำของท่านครูที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ก็มักจะเลือนหายไปตามกาลเวลา จึงเป็นเรื่องของลูกหลานชาวล้านนาที่ยังต้องสืบค้นต่อไป
ในขณะเดียวกันหากเรามองถึงในแง่ของความสัมพันธ์ของล้านนาและพม่าจากฟ้อนนี้ ก็คงต้องเดาว่า ล้านนาเรามีความสัมพันธ์อันดีกับราชสำนักพม่า อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดให้กับพม่าตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 และราชสำนักล้านนาได้รับการถ่ายทอดมาจากราชสำนักพม่าอีกทอดหนึ่ง ซึ่งก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นจริงอยู่ เพราะท่วงทำนองในบางตอนมีดนตรีของล้านนาแทรกอยู่ ซึ่งผู้ชำนาญทางดนตรีไทย อาจารย์มนตรี ตราโมท ท่านว่ามีดนตรีของล้านนาและดนตรีไทยผสมผสานกัน แต่กลับไม่มีท่วงทำนองของดนตรีพม่า แต่ที่คนไทยเข้าว่าเป็นทำนองพม่าเพราะใช้เครื่องพาทย์เครื่องผสมเล่น แต่ในความเห็นของผมแล้วเป็นไปหรือไม่ว่า การที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีรับวัฒนธรรมการฟ้อนม่านมุยเชียงตามานั้น พระองค์ทรงให้ผสานระหว่างดนตรีล้านนาและดนตรีไทยเข้าไปเพราะความที่สนพระทัยในดนตรีไทยอยู่แล้ว แต่ใช้คำร้องแบบพม่า
ฟ้อนม่านมุยเชียงตาไม่ใช้ฟ้อนธรรมดาแต่หากแฝงไปด้วยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ถึง 3 ราชอาณาจักร คนล้านนามีความสัมพันธ์ต่อราชสำนักพม่ามาช้านาน อย่างน้อยพม่าก็เคยปกครองเมืองเชียงใหม่กว่า 200 ปี รวมทั้งพม่าที่ค่อย ๆ ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ชาวล้านนานั้นก็ยังตกทอดถึงคนรุ่นปัจจุบัน แม้คนล้านนาจะเกลียดชังพม่าเพียงใด แต่วัฒนธรรที่พม่าให้กับคนล้านนานั้น คนล้านนาเองก็ยังรักษาไว้อย่างเหนี่ยวแน่น สงครามทำให้สูญเสียทุกอย่าง ไม่เหมือนวัฒนธรรมที่ฝากฝังวัฒนธรรมใหม่ สร้างและรอวันเติบโต คอยการสืบสาน ม่านมุยเชียงตาเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติ แม้จะเป็นศัตรูกันก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมมันไม่ได้เกี่ยวกับชาติพันธุ์

เรื่องเล่าจากคนเมือง



ณ ดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงบังเกิดที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและอารยธรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยความประณีตละเมียดละไม กลิ่นอายของอารยธรรมที่กลุ่มชนกลุ่มนี้ได้สร้างสรรค์มากว่า 7 ศตวรรษ ได้ทำให้ลูกหลานพลอยได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอันดีงามเหล่านั้น สืบต่อๆกันมา ไม่ว่าจะเป็นการกินการอยู่ การเมืองการปกครอง การแสดง การละเล่น หรือแม้แต่การแต่งกาย
ชาวล้านนาหรือชาวลานนายังเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันว่าจะเรียกกลุ่มชนนี้ว่าอย่างไรกันแน่เพราะถ้าดูถึงเหตุผลของนักประวัติศาสตร์แต่ท่านแล้วก็สมเหตุสมผลด้วยกันทั้งนั้น คำว่า “ล้านนา” ท่านผู้รู้ทั้งหลายให้ความเห็นว่าน่าจะมาจาก การที่มีพื้นที่นาของชาวไตยวน(หรือคนเมือง) เพราะมีที่นาเป็นล้านล้านไร่ เลยน่าจะชื่อว่า ล้านนา แต่เหตุผลของผู้รู้อีกฝ่ายหนึ่ง ก็กล่าวว่าน่าจะเป็นคำว่า “ลานนา” เสียมากกว่าเพราะดูลักษณะการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนไตยวนเป็นลานกว้างใหญ่และมีที่นา เลยน่าจะเป็นลานนา แต่ในความคิดเห็นของผู้เขียนเองน่าจะเป็นคำว่าล้านนาเสียมากกว่าเพราะว่าคำว่าลาน ทางเหนือเราจะเรียกว่า ข่วง ถ้าพิจารณาดูตามความเห็นของนักประวัติศาสตร์กรณีหลังแล้วก็น่าจะเรียกว่า “ข่วงนา” ฟังดูแล้วแปลกๆ ผู้เขียนเองสนับสนุนข้อคิดเห็นแรกเพราะดูอย่างเมืองลาวยังชื่อ“เมืองศรีสัตนาขนะขุทล้านช้าง” เลย แล้วทำไมล้านนาซึ่งมีนาเป็นล้านล้านไร่นั้นจะชื่อว่าล้านนาไม่ได้ แค่ชื่ออาณาจักรยังซับซ้อนขนาดนี้แล้วความเป็นมากว่า 700 ปี ก็เช่นยังมีอะไรที่น่าค้นหาต่อไป
คนเหนือเรามีประวัติศาสตร์ชนชาติที่ยาวนานมากเลยทำให้มีวัฒนธรรมที่หลากหลายตามชนชาติที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรนี้ เราอาจเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมผสมก็เป็นได้ แต่คงเป็นพหุวัฒนธรรมไม่ได้หรอกเพราะเราเอาวัฒนธรรมหลายๆมาผสมดูกลมกลืนกันไปหมดจนคิดว่าวัฒนธรรมนั้นเป็นของเราเสียแล้ว แต่ลักษณะของพหุวัฒนธรรมนั้นจะต้องมีวัฒนธรรมที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น อเมริกา ที่มีคนสองสีผิว คนผิวขาวก็มีวิธีรับประทานอาหารที่แสนจะผู้ดีเสียเหลือเกิน ส่วนคนผิวดำก็มีวิธีรับประทานอาหารที่ดูสบายๆตามแบบมะกันผิวดำ มีนักสังคมวิทยาหลายท่านก็ยังยืนยันว่าวัฒนธรรมของบ้านเรานั้นเป็นแบบพหุวัฒนธรรม แต่ถ้าพิจารณาตามเหตุและผลที่นำมาแจ้งแถลงไขให้อ่านกันผู้เขียนเองก็ยังจะเป็นกระต่ายขาเดียวที่ยังจะยืนยันว่าวัฒนธรรมบ้านเราเป็นแบบผสมอยู่ดี
วัฒนธรรมของล้านนาเราได้รับอิทธิพลมาจากชาวม่าน(พม่าหรือชาวพุกาม) ชาวไตใหญ่(ต้องขอบอกก่อนว่าชาวไตใหญ่กับไตม่านนั้นแตกต่างกันแต่ก็มีลักษณะความเป็นอยู่ที่เหมือนกันคือ อยู่บริเวณที่ราบแม่น้ำอิระวดีการแต่งกายก็คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันก็เพียงการเกล้าผม ไตม่านจะเกล้ามวยสูงเกือบกลางศีรษะและจะมีผมย้อยลงมาทางด้านขวามักจะมีอุบะห้อยลงมาด้วย แต่ชาวไตใหญ่จะเกล้ามวยผมเกือบกลางศีรษะเช่นกันแต่ไม่มีผมย้อยลงมาทางด้านขวาเหมือนม่าน และจะไม่นิยมใส่ซิ่นรุนตยาแบบชาวม่านอีกด้วย) ชาวไตลื้อ ชาวไตพวน ชาวไตเขิน เลยทำให้มีวัฒนธรรมที่เหมือนกับชาวม่านบ้าง ชาวเขินบ้าง ชาวลื้อบ้าง เพราะวัฒนธรรมไหนจะเจริญรุ่งเรืองก็ขึ้นอยู่กับเจ้าผู้ปกครองในขณะนั้นว่ามีความสัมพันธ์อันดีกับชนชาติใดแต่ที่เห็นว่าจะมีวัฒนธรรมที่หลากหลายอย่างชัดเจนก็คงหนี
ไม่พ้นยุคเก็บผักใส่ส้าเก็บข้าใส่เมือง ของพระยากาวิละผู้ปกครองนครองค์แรกหลังจากเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นแก่พม่าถึง200กว่าปี
ในยุคนี้เองที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลายเพราะพระยากาวิละได้ต้อนผู้คนจากที่ต่างๆทั้งใกล้และไกล มาอยู่เสียในเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ หลังจากนั้นไม่กี่ร้อยปีก็เกิดวัฒนธรรมของคนเมืองเองมีการประยุกต์ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ให้เข้ากับพระพุทธศาสนาที่กำลังเข้ามาเผยแพร่พระศาสนา โดยมีวัดแห่งก็คือวัดเชียงมั่น แต่วัดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแห่งแรกก็คือวัดสวนดอก และวัดสวนดอกนี้เองก็เคยเป็นอุทยานดอกไม้ของเจ้าหลวงทุกพระองค์ จนได้สร้างเป็นวัดบุปผารามและได้เปลี่ยนเป็นวัดสวนดอกในปัจจุบัน มีใครสักกี่คนจะทราบบ้างว่าพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในพระธาตุวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นองค์ที่แยกองค์ออกจากพระธาตุวัดสวนดอกนี่แหละ ตามตำนานการสร้างวัดพระดอยสุเทพ ได้เล่าไขกันไว้ว่า “ในสมัยพระยากือนาเจ้าผู้ปกครองนครเชียงใหม่ลำดับที่9 ของราชวงศ์เม็งราย(หรือมังราย) ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองสุโขทัยมาบรรจุไว้ที่วัดสวนดอกและด้วยฤทธานุภาพของพระธาตุได้แบ่งออกเป็นสององค์ ข่าวนั้นทราบถึงพระยากือนา พระองค์จึงโปรดฯให้นำพระธาตุบรรจุขึ้นหลังช้างตั้งสัจจอธิษฐานว่า ถ้าช้างไปหยุด ณ ที่ใดจะทรงสร้างวัดขึ้นนั้น ช้างนั้นก็เดินไปถึงดอยสุเทพเมื่อขึ้นไปจนถึงจุดแล้วก็ล้มลงสิ้นใจตาย พระยากือนาจึงทรงให้สร้างวัดและขนานนามว่า วัดพระธาตุดอยสุเทพ” เนื่องจากความเชื่อและพระพุทธศาสนาเชื่อมกันและผสมผสานกันเป็นอย่างดี นอกจากจะทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วชาวล้านนายังได้นำพิธีกรรมของตนเข้าไปผนวกด้วยจนเกิดรูปแบบการทำบุญต่างๆในเมืองเชียงใหม่ เช่น การบูชาเสาอินทขิล การเล่นน้ำสงกรานต์(อยากจะบอกเสียเหลือเกินว่าประเพณีสงกรานต์ที่เรามีมากันเป็นร้อยๆปีนั้นไม่ใช่ของเรานะ แต่เรารับมาจากพม่าอีกที เห็นไหมล่ะว่าจะเชื่อกันรึยังว่าวัฒนธรรมของเรานั้นเป็นแบบผสมผสานไม่ใช่พหุวัฒนธรรม) ก่อนการทำพิธีแต่ล่ะพิธีก็จะมีการแสดงเพื่อเป็นพุทธบูชาบ้าง เพื่อความสนุกสนานบ้าง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพื่อพุทธบูชา เช่น การตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนผางประทีป ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง เป็นต้น ในยุคต่อๆมาก็เพื่อความสนุกสนานและการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง แต่ศิลปะการแสดงแบบพื้นเมืองนี้ถ้าจะสืบประวัติกันจริงก็คงถึงกันแค่สมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ผู้ที่เป็นองค์อุปถัมภ์การฟ้อนรำของล้านนา เพราะสืบหาหลักฐานเก่าแก่กว่านี้ไม่ได้แล้วเราไม่สามารถจะไปหาหลักฐานจากไหนมายืนยันได้

การฟ้อนในสมัยนี้เป็นการเอาท่าฟ้อนจากที่ต่างๆมาผสมกลมกลืนกัน ฟ้อนที่ดังเป็นที่รู้จักกันทั้งประเทศก็คงหนีไม่พ้น ฟ้อนเมือง(ฟ้อนเล็บ) ฟ้อนสาวไหม การตีกลองสะบัดชัย แต่จะมีใครบ้างหนอที่รู้จักฟ้อนที่ชื่อว่า
“ฟ้อนม่านมุยเชียงตา” ถ้าผู้อ่านเป็นผู้ที่เรียนนาฏศิลป์มาก็คงจะต่อว่าผู้เขียนว่าผู้เขียนเขียนผิด ไม่เช่นนั้นก็คงพิมพ์ แต่ผู้เขียนยังคงจะยืนยันอยู่ว่าเขียนไม่ผิด ไม่ผิดและไม่ผิด ชื่อนี้จริงๆ ชื่อจริงๆคือฟ้อนม่านมุยเชียงตา เพราะว่าคำว่ามุ้ยไม่มีความหมายเลยในภาษาพม่าและภาษาเหนือของเรา จากหลักฐานการเขียนแสดงความยินดีครบรอบ 80 ปี โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โดยคุณหญิงสวาท รัตนวราห อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
“ ...............ในปีนั้น(ไม่ได้เขียนไว้ว่าปีอะไร แต่ผู้เขียนคาดว่าเป็นปี พ.ศ. 2468 ) พระราชชายาเธอ เจ้าดารารัศมีในรัชาลที่ 5 ทรงโปรดรับโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทาน ครูหลง ครูสอนฟ้อนในวังพระราชชายาเธอฯ ที่เก่งที่สุดมาสอนนักเรียนวัฒโนทัย ดิฉันเป็นนักเรียนรุ่นแรกที่เรียนฟ้อนรำกับครูหลงจึง ฟ้อนเมือง และฟ้อนม่านมุยเชียงตา เป็นทั้งรู้ประวัติด้วยจึงขอยืนยัน ณ ที่นี่อีกครั้งหนึ่งว่า ชื่อฟ้อนชุดนี้คือ “ม่านมุยเชียงตา” ไม่ใช่ม่านมุ้ยเชียงตา ดังที่มีผู้เรียกกัน (ถ้าไม่แก้ให้ถูกเดี๋ยวนี้ จะเพี้ยนหนักในอนาคต เพราะมีผู้รู้ท่านหนึ่งบอกดิฉันว่า “มุย” แปลว่า “ขวาน” ไม่น่าจะเป็นชื่อเพลงระบำชุดนี้) ท่านไม่รู้เอาจริงๆว่าระบำชุดนี้พระราชชายาเธอ เจ้าดารารัศมีฯ ท่านได้ครูฟ้อนรำชาวพม่าจากราชสำนักพระเจ้าทีบอของพม่าไว้ในวังของท่าน ท่านได้คิดประดษฐ์ท่าฟ้อนเมืองผสม ท่าฟ้อนม่านตามคำแนะนำของครูช่างฟ้อนชาวพม่านั้น และบทร้องเดิมเป็นภาษาพม่าล้วนๆ ต่อๆ มาเพี้ยนหนักเข้าจนพม่าฟังไม่รู้เรื่อง.............”
จะเห็นว่าการฟ้อนชนิดนี้ไม่ใช่เป็นเพียงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทางด้านการฟ้อนรำเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องบอกถึงประวัติศาสตร์ทางด้านการเมืองด้วย เพราะในสมัยพระเจ้าทีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่านั้นเป็นยุคถึงคราวอับจนของพม่าเพราะในปลายรัชสมัยของพระองค์เมืองอังกฤษได้เข้ายึดเมืองพม่าเป็นอาณานิคม ที่ผู้เขียนเขียนมานั้นไม่ใช่ต้องการอยากให้สำนึกรักบ้านเกิดอะไรหรอกแต่อยากจะแก้ไขเรื่องชื่อฟ้อนนิดหน่อย เพราะแม้กระทั่งวิทยาลัยนาฏศิลป์เองก็ยังใช้คำว่า
“ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา”เลย อยากแก้จริงๆ ถ้าใครได้อ่านก็ขอไหว้วานช่วยบอกคนที่ไม่รู้ด้วยเถอะ ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ของเก่าๆเถอะน่ะเห็นใจด้วยเถอะคุณ ฟ้อนนี้เป็นหนึ่งในจำนวนฟ้อนที่เขียนอยากจะบอกจะเล่าให้คนอื่นได้ทราบกันบ้างเพราะไปทางไหนเวลามีคนชมคนดูฟ้อนนี้ก็จะเกิดอารมณ์เบื่อ แต่อยากจะให้ดูว่าฟ้อนนี้มีอะไรดี ลองพินิจพิเคราะห์เอาเองนะคุณผู้อ่าน
ไม่ลองสังเกตุหรือว่าท่าฟ้อนบ้างท่าก็เตะเท้าบ้าง มีตบมือหรือที่เราเรียกว่าตบแผะนั้นแหละ เชื่อว่าคนที่ได้ดูได้ชมจะติดใจ แต่ยาวไปหน่อยนะเพราะมีความยาวการฟ้อนถึง 12-15 นาทีเชียว ด้วยความเห็นของตัวเองแล้วคิดว่าน่าจะเป็นดังที่คุณหญิงสวาท เขียนไว้เพราะครูหลงเองก็เป็นครูสอนฟ้อนในพระราชชายาที่ใกล้ชิดและมีความรู้ทางด้านการแสดงพื้นเมือง(ที่ว่ามีความรู้ความสามารถทางการแสดงพื้นเมืองก็เพราะฟ้อนแต่ละชุดที่มีในปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของท่านที่คิดประดิษฐ์ไว้) แล้วแค่ชื่อฟ้อนทำไมท่านถึงจะไม่รู้และคงจะไม่สอนไม่บอกประวัติอย่างผิดๆเป็นแน่เพราะแม่ครูหลงก็เป็นครูสอนฟ้อนมือหนึ่งคงไม่สอนอะไรผิดๆแก่ลูกศิษย์เป็นแน่
ส่วนอีกฟ้อนหนึ่งที่อยากจะเล่าให้อ่านกันอีกสักฟ้อนหนึ่งก็คือ “ฟ้อนก๋ายลาย”
เพราะภูมิใจเสียเหลือที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ฟ้อนนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ฟ้อนนี้ถูกค้นพบในปลายปี 2532 โดยอาจารย์สนั่น ธรรมธิและ อาจารย์สุชาติ กันชัย ที่หมู่บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ฟ้อนก๋ายลายนี้ผู้เขียนสันนิษฐานว่าคงเป็นคำโบราณของชาวไตลื้อ(ไตลื้อนี่เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่พม่าและสิบสองปันนาของจีน ในเมืองไทยก็มีกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ เช่น ลื้อเมืองแพร่ ลื้อเมืองน่าน ผ้าทอของชาวไตลื้อถือว่ามีความวิจิตรบรรจงมาก ไม่ว่าจะเป็นผ้าเช็ด ผ้าห่ม(ผ้าต๊วบ) ผ้าตุ๊ม ที่สวยขึ้นชื่อเลยต้องผ้าซิ่นลื้อ ที่เราเรียกว่า ผ้าซิ่นลายน้ำไหล สวยงามมาก คนไตลื้อมีฝีมือในการทอผ้าเป็นอย่างมาก ในประวัติศาสตร์ชนชาติจีนยังเขียนบอกไว้ว่า ฉลองพระองค์ของฮ่องเต้เกือบทุกพระองค์ เป็นผลงานการทอผ้าของชาวไตลื้อ) คนไตลื้อมีภาษาพูดเป็นของตัวเองเรียกว่า “ภาษาลื้อ” ดังนั้น “ก๋าย” แปลว่า การปรับเปลี่ยน ส่วนคำว่า “ลาย” นั้นน่าจะตรงกับคำเมืองคำว่า เจิง(เชิง) หรือคำว่า ลีลาในภาษาไทยกลางนั้นเอง ก๋ายลาย น่าจะหมายถึง การปรับเปลี่ยนลีลาของผู้หญิง ถ้าใครเคยได้ชมฟ้อนนี้แล้วจะมีความรู้สึกเช่นเดียวกับข้าพเจ้าคือฟ้อนนี้มีความเข้มแข็งอยู่ในความอ่อนหวานตามแบบสตรีล้านนา เพราะเป็นฟ้อนที่ดัดแปลงมาจากฟ้อนเจิงของผู้ชาย แต่ถ้าเรียกว่าเป็นฟ้อนประจำโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพก็เป็นได้ เพราะเราจะเห็นว่าโรงเรียนวัฒโนทัยฯ แสดงฟ้อนรำต้องมีฟ้อนก๋ายลาย เรียกได้ว่าโรงเรียนวัฒโนทัยฯ เป็นผู้บุกเบิกฟ้อนก๋ายลายให้เป็นที่รู้จักกัน ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าฟ้อนก๋ายลายเป็นพื้นเมืองดังนั้นท่าฟ้อนก็จะแตกต่างกันไป แต่ชื่อท่าฟ้อนก็จะเรียกคล้ายๆกันอยู่ ที่เห็นเป็นต้นฉบับจริงเห็นจะมีอยู่สอง สามลาย คือ 1.ลายบ้านแสนตอง(ต้นฉบับ) เป็นลายที่ดูแข็งแรงเหมือนกับฟ้อนเจิงไม่เคร่งครัดลีลาการฟ้อนมากนัก คนที่สืบทอดในปัจจุบันมีน้อยรายมาก บังเอิญผู้เขียนเองได้รู้จักกับทายาทผู้สืบทอดฟ้อนก๋ายลายต้นแบบ จึงขอให้ฟ้อนให้ดู ซึ่งดูแล้วเหมือนกับลายของชมรมพื้นบ้านล้านนาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สุด
2.ลายของชมรมพื้นบ้านล้านนาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(ที่สืบทอดมาจากบ้านแสนตอง แต่ผู้เขียนเข้าใจว่าต้องนำมาปรับให้ดูสวยขึ้น เพราะว่าต้นฉบับจริงๆจะไม่เรียงท่าได้สวยตามแบบนาฏศิลป์แบบนี้)
ส่วนลายที่3 ก็คือ ลายของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ผู้เขียนได้ทราบประวัติมาว่าผู้ที่มาสอนคือ แม่ครูเฉลิมศรี พรหมสุวรรณ ซึ่งในอดีตเคยเป็นครูสอนนาฏศิลป์อยู่ที่โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ(ถึงแก่กรรม เมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ.2550) เป็นผู้สอนฟ้อนก๋ายลายให้กับนักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ตอนปีพ.ศ.2538 ผู้เขียนคิดว่าแม่ครูคงได้นำมาปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง คงได้เสริมท่าให้ดูกลมกลืน สวยงามให้มากขึ้น จะสังเกตว่าลายของโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพจะดูเป็นนาฏศิลป์ไทยมากขึ้น มีเข้าวง คลายวง ท่าเข้า ท่าออก ในขณะที่ลายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะไม่มีท่าเข้า ท่าออก ไม่มีเข้าวง เพราะเป็นแบบพื้นบ้านมาก
ส่วนฟ้อนก๋ายลายที่เห็นกันในปัจจุบันถ้าไม่ใช่ของสองสถาบันนี้แล้ว ก็ได้หยิบลายทั้งสองไปปรับอีกทีหนึ่ง บางที่ปรับให้สวยงามขึ้นไปอีก แต่บางทีนำไปปรับกลับดูเป็นการฟ้อนที่ดูแล้วน่าจะเป็นตัวตลกมากกว่าช่างฟ้อน บางแห่งนำไปเด้งหน้า เด้งหลังซึ่งไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าคนเราจะนำไปปรับปรุงก็วอนขอให้อยู่ในขอบเขตของศิลปะและนาฏศิลป์ด้วยเถอะ
นี่!เป็นเพียงเรื่องราวของชีวิตคนเมืองเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น คนเมืองยังมีอะไรๆที่เรายังไม่รู้อีกมากมาย ประวัติศาสตร์นับร้อยปีของเมืองล้านนา น่าจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเจริญในอดีตกาล ว่าจะยิ่งใหญ่สักเพียงไหน คนเมืองไหน ชาติไหนก็คงไม่มหัศจรรย์เท่ากับคนเมือง คนล้านนา อีกเป็นแน่ วิถีการดำเนินชีวิตที่บางคนต้องเอ่ยปากว่าแปลก แต่เป็นเรื่องจริง ช่างน่าเศร้าใจจริงๆว่าคนเมืองแท้ๆนั้นหาน้อยเหลือเกิน บางคนหน้าตาเมืองๆๆจริงๆแต่กลับพูดไทยคำฝรั่งคำ.....?????????.............
“ ลูกหลานคนเมือง.....ฮ้องเพลงฝรั่งได๋ บ่ผิดเพี้ยน แต่บ่ฮู้จักกำว่า ค่าว จ้อย ซอ ฮ่ำ
ลูกหลานคนเมือง.....เต้นเจสเดนซ์ แทงค์โก้และฮิตฮอพ แต่บ่ฮู้จักกำว่า ฟ้อน
ลูกหลานคนเมือง.....กิ๋นแฮมเบอเกอร์ พิซซ่า เซ่เว่นเซนต์ แต่บ่เกยกิ๋น จิ๋นลาบ แกงอ่อม
ลูกหลานคนเมือง.....ใส่เสื้อสายเดี่ยว โชว์สะดือ แต่บ่เกยนุ่งซิ่น ห่มสไบ
ลูกหลานคนเมือง.....มัวแต่เลียนแบบฝรั่ง ตาน้ำขาว หละคนเฒ่า ป้ออุ้ย แม่อุ้ย หื้ออยู่กับความอับเฉา ”
......ถ้าลูกหลานคนเมืองยังเป๋นอยู่จะอี้ กำว่าคนเมืองคงจะจางหายไปจากโลกนี้.....

สันทนการ

การสันทนาการเบื้องต้น[1]
วาทิต ธรรมเชื้อ

เมื่อเด็กๆเข้ามานั่งล้อมวงร้องเพลงนั่นคือ สัญญาณของการเข้าค่าย รวมกลุ่มองค์กร หรืออะไรก็ตามที แต่สิ่งหนึ่งที่การรวมกลุ่มเช่นนี้จะขาดไม่ได้คือ การสันทนาการ คำนี้หลายคนคงได้ยินได้ฟังมาจากหลายที่ บางแห่งเรียก “สันทนาการ” บางแห่งเรียก “นันทนาการ” คำใดจึงจะเป็นคำที่ใช้ถูก คำใดมีความหมายอย่างแคบ คำใดสามารถใช้ในงานใด คำถามเหล่านี้เป็นข้อคำถามที่ถูกถกเถียงกันวงการสันทนาการมาหลายชั่วปี หากแต่จะใช้อย่างไร พันธกิจที่สำคัญที่สุดก็คือ ความบันเทิง ที่มอบให้แก่กลุ่มคน
ความหมายของ “สันทนาการ” และ “นันทนาการ”
เนื่องจากเอกสารในครั้งนี้เป็นการเขียนเพื่อการสันทนาการไม่ได้เขียนเพื่อสืบเสาะหาต้นกำเนิดของคำ ดังนั้นจึงจะปรับความหมายของทั้งสองคำให้ง่ายกว่าในพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน ปีพุทธศักราช 2542
“สันทนาการ” ในความหมายในวงวิชาการนั้น หมายถึง การแสดง การให้ความบันเทิงในรูปแบบของกิจกรรม
“นันทนาการ” ตามความเข้าใจของนักสันทนาการนั้น หมายถึง การแสดงหรือการให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น ละคร เพลง วงดนตรี เป็นต้น
จากการนิยามความหมายนั้นจะเห็นได้ว่า “นันทนาการ” เป็นคำที่มีความหมายกว้างซึ่งครอบคลุมถึงกิจกรรมสันทนาการ การสันทนาการนั้นเป็นเพียงแต่รูปแบบของกิจกรรม นั่นหมายความว่า สันทนาการมักจะอยู่ในรูปแบบของกิจกรรมต่างๆ เช่น เพลง เกม หรือแม้แต่กิจกรรมยามกลางคืน เช่น รอบกองไฟ งานวัด เสียงจากธรรมชาติ ด้วย
หลายท่านในวงวิชาการให้ความเห็นเกี่ยวกับทั้งสองคำไว้อย่างน่าสนใจ แต่เมื่อนำมาหาข้อสรุปในเรื่องของลักษณะร่วมและความต่างของทั้งสองคำจะพบว่า สันทนาการนั้นแทบจะไม่ต่างจากคำว่า นันทนาการเลย หากแต่จะต่างกันในเรื่องของการใช้คำเสียมากกว่า กล่าวคือ สันทนาการมักจะใช้ในกรณีที่เรียกกิจกรรมที่ให้ความบันเทิงในรูปแบบของเพลง และเกม ส่วนคำว่า นันทนาการนั้นสามารถใช้เรียกรูปแบบของความบันเทิงทุกอย่าง เช่น การแสดงคอนเสริต์ การแสดงละคร การชมภาพยนตร์กลางแปลง หรือ แม้แต่ลิเก ก็เป็นนันทนาการรูปแบบหนึ่ง
ในเอกสารนี้เป็นกิจกรรมีที่เกี่ยวกับสันทนาการ ดังนั้นจึงขอใช้คำว่าสันทนาการในความหมายดังต่อไปนี้ คือ การสันทนาการ หมายถึง กิจกรรมในรูปแบบเพลงและเกม ที่ใช้สำหรับการรวมกลุ่มองค์กร การรวมกลุ่มตามพฤติการณ์ของสังคม รวมไปถึง ค่าย และ/หรือการประชุมองค์กรต่างๆ
และจะใช้คำว่า นักสันทนาการ สำหรับผู้ที่สร้างความบันเทิงให้กับผู้เข้ารวมกลุ่มต่างๆตามที่ได้กล่าวไว้ตามข้างต้น

สันทนาการไม่ใช่แค่การร้องเพลง ปรบมือ ทำท่าเท่านั้น
สันทนาการไม่ใช่การร้องเพลง ทำท่าทางประกอบเพลงเท่านั้น หากสันทนาการคือการทำกิจกรรมและดำเนินกิจกรรมอย่างมีระบบและสนุกสนาน หลายคนเข้าใจว่าการสันทนาการคือการร้องเพลงและการทำท่าทางประกอบเพลงเท่านั้น การสันทนาการคือการสร้างความบันเทิงและพร้อมกันนั้นเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่เพียงเท่านั้นการสันทนาการยังเป็นเครื่องมือสื่อสาร และการทำความเข้าใจระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย
เนื่องจากผู้เข้ากิจกรรมนั้นมาจากหลายที่และถูกเลี้ยงดูมาหลากหลายแบบ ดังนั้นจึงต้องมีการละลายพฤติกรรม การละลายพฤติกรรม หมายถึง การลบ การกด การล้าง พฤติกรรมเดิม เพื่ออสร้างพฤติกรรมใหม่กับการเข้าสู่สังคมใหม่ กล่าวคือ การละลายพฤติกรรมนั้นมีเพื่อทำให้ผู้เข้ากิจกรรมได้สนิทสนมกันมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกิดความสัมพันธภาพกันภายในอีกด้วย
การละลายพฤติกรรมโดยใช้สันทนการนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจาก การสันทนการนั้นเน้นความบันเทิงเป็นสำคัญ เมื่อเน้นความบันเทิงเป็นสำคัญผู้เข้าร่วมกิจกรรมมักจะลืมพฤติกรรมเดิมๆ ในขณะเดียวกันนักสันทนาการก็มีบทบาทในเรื่องของการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม อนึ่งผู้สันทนาการควรระลึกตลอดว่า ในช่วงนี้นั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมถูกกดพฤติกรรมเดิมๆ ฉะนั้นกิจกรรมสันทนาการจึงต้องมีลักษณะหลอมพฤติกรรมด้วย
ฉะนั้น การเป็นนักสันทนาการจึงไม่ใช่เป็นผู้นำร้องเพลงและนำทำทางประกอบเพลงเท่านั้น แต่นักสันทนาการเป็นผู้นำกิจกรรมและดำเนินกิจกรรมอย่างมีระบบและมีความบันเทิงอยู่ในตัว ลักษณะของนักสันทนาการนั้นจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป
ทฤษฎีความคิดและการสร้างสรรค์[3]
นักสันทนาการนั้นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เป็นนักสันทนการที่ดีนั้นคือต้องมีความคิดและการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้เกิดความบันเทิงที่แฝงไปด้วยความรู้และคติเตือนใจ หลายกิจกรรมของการสันทนการนั้นมุ่งเน้นเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวคือ มักแฝงไปด้วยความมุ่งหมายต่างๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ฝ่ายประเมินต้องการ เช่น เกมยิงเรือ ที่นำเสนอเรื่องของการวางแผนและการแสดงอัตลักษณ์ของผู้นำ การสร้างผู้นำรวมไปถึงการแสดงออกของความเป็นผู้นำ เป็นต้น ดังนั้นนักสันทนาการที่ดีนั้นจึงต้องมีกระบวนการความคิดและความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบและดีตามลำดับ
ในที่นี้จะเริ่มจากการคิด ซึ่งความคิดนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสันทนาการเพราะเหตุผลประการสำคัญคือ นักสันทนาการนั้นต้องเผชิญกับปัญหาและต้องหาทางออกอย่างมีระบบ การแสวงหาคำตอบเป็นสิ่งที่ต้องใช้ระบบซึ่งนั่นคือ กระบวนการคิดนั่นเอง กระบวนการคิดนั้นแบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 การค้นปัญหาหรือระบุประเด็นปัญหาให้ชัดเจน
“การค้นหาความจริง” (fact finding) และ “การค้นพบปัญหา” (problem finding) กล่าวคือ การตระหนักในปัญหาภายในตัวเอง ต้องพิจารณาว่าเกิดความกังวลใด ต้องนึกระลึกให้ได้ว่าเหตุใดจึงเกิดปัญหา ตัวการใดที่ก่อเหตุซึ่งปัญหา โดยต้องระบุถึงประเด็นที่ชัดเจนก่อนว่าอะไรคือปัญหาอันดับแรก ปัญหาใดที่อยู่ในระดับรองลงมา การลำดับความสำคัญของปัญหาเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากจะได้แก้ไขในส่วนที่ผิดมากก่อน
ขั้นที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลในที่หมายถึง ความรู้ ข้อเท็จจริง ประสบการณ์เดิม ตลอดจนข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคิดแก้ไขปัญหาต่อไป
ขั้นที่ 3 การิเคราะห์
เป็นการคิดพิจารณาและแจกแจงข้อมูลต่างๆออกเป็นส่วนๆเพื่อที่จะวางแผนแจกแจงลึกลงไปในรายละเอียดต่างๆ เพื่อแยกแยะ เปรียบเทียบถึงปัญหาและทางแก้ไข เช่น ความเหมือน ความต่าง และความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นต้น
ขั้นที่ 4 การใช้ความคิดคัดเลือกข้อมูล
เป็นการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อตัดสินใจว่าข้อมูลใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมโดยพยายามมองหาทางเลือกไว้หลายๆทางนับเป็นขั้นการค้นหาความคิดหรือสมมติฐาน(idea finding) หลักสำคัญคือต้องพยายามระดมความคิด พยายามผลิตความคิดออกมาให้ได้มากที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมุ่งผลิตความคิดอเนกนั่นเอง
ขั้นที่ 5 การประมวลความคิด
ความคิดแรกยังเป็นความคิดที่ยังฟุ้งกระจายไม่ชัดเจนต้องผ่านการคิดทบทวนซ้ำเพื่อให้ความคิดนั้นก่อรูปและพัฒนาในรายละเอียด จนมีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ เป็นกระบวนการครุ่นคิด(incubation) ในขั้นนี้ข้อมูลทั้งเก่าและใหม่จะสับสนปนเปไม่เป็นระเบียบยังไม่สามารถขมวดความคิดเป็นคำตอบที่ชัดเจนได้ จึงปล่อยความคิดนั้นไว้เงียบๆเสมือนระยะฟักตัว ซึ่งอาจจะสำเร็จหรือไม่ก็ได้
ขั้นที่ 6 การสังเคราะห์
เมื่อผ่านการประมวลความคิดมาแล้วนั้นจะต้องรวบรวมหรือเชื่อมต่อองค์ประกอบของปัญหา ข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกัน จนได้ภาพรวมของปัญหา หรือสภาพการณ์ที่แจ่มชัด จนเกิดประกายแนวคิด (illumination or insight) จากการร้อยเรียงเหตุผล ข้อมูล และความคิดต่างๆเข้าด้วยกัน จนกระทั่งสามารถเห็นความสัมพันธ์ของสภาพสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นว่าสิ่งต่างๆ มีเหตุผลเชื่อมโยงกันอย่างไร เกิดความเข้าใจและคิดคำตอบออกทันที หรือที่เรียกเป็นภาษาพูดว่า “ความคิดแว้บ” หรือ “ปิ๊ง” นั่นเอง
ขั้นที่ 7 การประเมินผล
เป็นขั้นตอนที่พิสูจน์ (verification) ว่าความคิดนั้นเป็นจริงและถูกต้องหรือไม่ เป็นการยอมรับผลจากการค้นพบ (acceptance finding) โดยนำวิธีการที่ผ่านการประเมินแล้วว่าเหมาะสมมาพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งเผยแพร่ความคิดนั้นในสู่สาธารณชนเพื่อให้ความคิดนั้นเป็นที่ยอมรับโดยสากล
นักสันทนาการควรพึงระลึกถึงกระบวนการคิดตลอดเวลา เนื่องจากการทำงานสันทนาการเป็นสิ่งที่ต้องเจอกับปัญหาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นทฤษฎีทั้ง 7 ขั้นตอนจึงเป็นเหมือนกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้นำสันทนการนั้นแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและเกิดความเที่ยงตรง ฉะนั้นการฝึกทั้ง 7 ขั้นตอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการสันทนาการ
บทบาทและหน้าที่ของนักสันทนาการ
เมื่อนักสันทนาการหรือผู้นำสันทนาการได้รับหน้าที่ให้สันทนาการสร้างความบันเทิงให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วนั้น นักสันทนาการไม่เพียงแต่จะเป็นผู้ที่สร้างความบันเทิงหรือสีสันให้กับการประชุมหรือค่ายเท่านั้น หากแต่ยังต้องเป็นนักนำกิจกรรมที่ดี กล่าวคือ เมื่อต้องทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง นักสันทนาการจำเป็นต้องมีทักษะการอธิบายที่ดี การอธิบายนั้นมีหลักการที่สำคัญที่สุด คือ อธิบายให้ชัดเจน ไม่วกวน และกระชับ เข้าใจง่าย นักสันทนานั้นจึงเป็นตัวกลางสำคัญระหว่างตัวกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม นักสันทนาการเปรียบเหมือนล่าม ที่ต้องคอยแปลจากภาษาหนึ่งเพื่อภาษาหนึ่ง ทำนองเดียวกัน นักสันทนาการจำเป็นต้องระดมความคิดของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อถอดรหัสความหมายของกิจกรรมให้ได้
นอกจากนั้นแล้ว นักสันทนการยังต้องเป็นผู้ที่ดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทฤษฎีความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่ว่า “คนเราจะมีความสนใจในการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างดีนั้น มีเพียง 15 นาที” ซึ่งจะเห็นได้ว่าทฤษฎีกำลังต้องการจะสื่อว่า เมื่อพ้น 15 นาทีแรกไปแล้วนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นจะมีความสนใจในกิจกรรมน้อยลง ดังนั้นผู้นำสันทนาการหรือนักสันทนาการนั้นจำเป็นต้องมีเทคนิควิธีที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้ามาสนใจในกิจกรรม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ทันตั้งตัวหรือไม่รู้ตัว และไม่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความกดดันภายใน ในที่นี้จะข้อเสนอวิธีการเพื่อดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
ประการแรก เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสียงดังหรือเกิดความวุ่นวาย โกลาหล นักสันทนาการอาจจะใช้วิธีแก้โดย ใช้การปรบมือ เพื่อเรียกความสนใจ หรืออาจจะเป็นเพลงที่ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วม เช่น เพลงยามเมื่อน้ำแห้งลง เพลงโอ้แม่ระกำ เพลงกล้วยหอม เป็นต้น ประการถัดมา หากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเหม่อลอย ไม่สนใจในกิจกรรม นั่งคุยกันเอง นักสันทนาการอาจจะใช้การถามเพื่อดึงความสนใจ เช่น ถามเพื่อเรียกสติกลับมา ถามเพื่อหาความสนใจ ถามเพื่อต้องการความคิดเห็น เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วหากผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังไม่สนใจในกิจกรรมอย่างรุนแรง นักสันทนาการอาจจะใช้วิธีถามต่อหน้าประชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความแปลกแยกและต้องการจะกลับเข้ากลุ่มสังคมอย่างปกติ กล่าวคือ เมื่อถามต่อหน้าประชุมชนนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมมักจะอายเพราะทุกสายตามักจะจับจ้องผู้ที่แปลกแยกออกจากกลุ่ม ดังนั้นวิธีนี้จึงน่าจะเป็นวิธีสุดท้ายในการเลือกที่จะดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
อย่างไรก็ตาม ควรดูสถานการณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อที่จะหาทางออกอย่างดีที่สุดเพื่อความบันเทิงอย่างมีข้อคิดตามแนวสันทนาการที่ดี
การเป็นนักสันทนาการที่ดี
การเป็นนักสันทนาการที่ดีนั้น เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวถึง เนื่องจากการเป็นนักสันทนาการที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวและสถานการณ์นั้นๆด้วย ในเอกสารนี้จะกล่าวถึงการเป็นนักสันทนาการที่ดีอย่างคร่าวๆ เพื่อความเข้าใจและเป็นหลักปฏิบัติง่ายๆของนักสันทนาการทั่วไป
ประการแรก นักสันทนาการต้องเป็นผู้ที่มีกระบวนการคิดที่ดี กล่าวคือ นักสันทนาการจะต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคมากมายเนื่องจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นมีจำนวนมาก ยิ่งมีจำนวนมากเท่าไหร่ปัญหาก็ยิ่งมากตามขึ้นไปเท่านั้น ระบบความคิดหรือกระบวนการคิดของนักสันทนาการจึงต้องการความคล่องแคล่วเป็นสำคัญ ฉะนั้นการฝึกกระบวนการคิดทั้ง 7 ขั้นตอน จึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้กระบวนการคิดเกิดความคล่องแคล่ว
ประการถัดมา นักสันทนาการจำเป็นต้องเป็นผู้มีลักษณะของผู้นำสูง เนื่องจากนักสันทนาการจะต้องดึงความสนใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือแม้แต่การเนผู้นำของกิจกรรมต่างๆจึงจำเป็นต้องมีลักษณะของผู้นำ ลักษณะของผู้นำที่ดี เช่น การมีน้ำใจ มีไหวพริบปฏิภาณ มีมานะ มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม สามารถพูดโน้มน้าวใจได้ เป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไป เป็นต้น นักสันทนาการนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องมีไหวพริบปฏิภาณเนื่องจากต้องแก้สถานการณ์ต่างๆได้อย่างแนบเนียบ
อีกประการหนึ่งนั้น คือ นักสันทนาการนั้นต้องมีลักษณะของผู้ตามที่ดี เพราะการสันทนาการนั้นต้องพลัดเปลี่ยนกันเพื่อนำสันทนาการ การเป็นผู้ตามที่ดีนั้น อาจจะเป็นโดยการเป็นผู้สนับสนุน(support) กล่าวคือ เมื่อผู้นำสันทนาการต้องการนำกิจกรรมแบบใด ผู้สนับสนุนต้องทำให้บรรลุจุดประสงค์ เช่น เมื่อผู้นำสันทนาการต้องการรวมกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้สนับสนุนต้องเป็นตัวกลางในการช่วยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมกลุ่มกันอย่างรวดเร็วเพื่อทำเวลา หรือ เมื่อผู้นำสันทนาการเหนื่อย ดังนั้นผู้สนับสนุนคนใดคนหนึ่งจำเป็นต้องขึ้นมาเป็นผู้นำสันทนาการ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามนักสันทนาการต้องควรปฏิบัติและยึดถือคำสั่งของผู้นำสันทนาการเป็นสำคัญเพราะถ้าเกิดความขัดแย้งกันเองจะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหมดความสนุก
นอกจากนี้แล้วนักสันทนาการยังต้องเป็นผู้สร้างความบันเทิงและสีสันให้กับการประชุม หรือการรวมกลุ่ม อนึ่งนักสันทนาการเป็นผู้ที่มีบทบาทเป็นอย่างมากในการประชุมหรือการรวมกลุ่ม ดังนั้นบทบาทในเรื่องของความบันเทิงจึงมักจะเป็นของนักสันทนาการ
ลักษณะสำคัญของนักสันทนาการที่ดีอีกประการหนึ่งคือ นักสันทนาการต้องมีเป็นผู้มีอัธยาศัยสนุกสนาน (friendly and entertrainer) เนื่องจากการเป็นผู้สร้างความบันเทิงนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่เรียกว่า “คนสนุกสนาน” แม้ว่านักสันทนาการบางคนตัวตนที่แท้จริงแล้วอาจจะไม่ใช่คนสนุกสนานแต่เมื่อเป็นผู้นำสันทนาการแล้วนั้นจึงจำเป็นอย่างมากในการปลอมแปลงนิสัยเพื่อความบันเทิง (การปลอมแปลงนิสัย คือ การสร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ใช่นิสัยที่แท้จริงเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น ตัวตนไม่ได้เป็นคนที่กล้าแสดงออก แต่เมื่อจำเป็นต้องแสดงละครก็พยายามใช้ความกล้าพยายามแสดงละคร เป็นต้น)
นักสันทนาการนอกจากจะเป็นผู้สร้างความบันเทิงแล้วนั้นนักสันทนาการยังต้องเป็นคนที่กล้าแสดงออก ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นในเรื่องของการปลอมแปลงนิสัยเพื่อความบันเทิง เมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นนักสันทนาการแล้วนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ทฤษฎีในเรื่องของการปลอมแปลงนิสัย อาจจะเรียกตามภาษาพูดว่า “การโกหกขาว” ก็เป็นได้ หรือจะเรียกว่า “ต้องด้าน ไร้ยางอาย”
การเป็นนักสันทนาการที่ดีนั้นสิ่งที่จำเป็นอีกประการ คือ การเป็นนักพูดที่ดี กล่าวคือ ต้องเป็นนักพูดโน้มน้าวใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม การหว่านล้อมด้วยคำพูดมักจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากผู้เข้าร่วมมักจะเชื่อตามและปฏิบัติตามโดยง่ายดาย การพูดได้ กับ การพูดเป็นไม่เหมือนกัน เนื่องจากการการพูดได้นั้นอาจะเป็นการพูดแบบนกแก้วนกขุนทอง (การท่องจำ) หรือการพูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง (ไม่มีเนื้อหาสาระ) แต่การพูดเป็น คือ การพูดที่มีเนื้อหาสาระ และสนุกสนานอีกทั้งยังต้องให้ผู้ฟัง ฟังแล้วต้องการทำสิ่งที่ผู้พูดต้องการให้เป็น ให้ทำ
แม้ว่านักสันทนาการที่ดีนั้นจะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าควรเป็นแบบใด แต่ข้อเสนอทั้งหมดนั้นคงจะเป็นแนวทางสำหรับนักสันทนาการที่ดีเพื่อสร้างความบันเทิงโดยอยู่บรรทัดฐานของกฎสังคม การเป็นนักสันทนาการที่ดีนั้นจึงจำเป็นต้องดูบริบทของสังคมในขณะด้วยว่าจะทำอะไรได้บ้าง บางที่บางแห่งสามารถเล่นเกมลามกได้ แต่บางที่บางแห่งไม่สามารถจะเล่นจะทำได้ ดังนั้นการทำให้ถูกหาลเทศะจึงเป็นสิ่งจำเป็นของนักสันทนาการด้วย แนวทางทั้งหมดนี้เป็นเพียงโครงร่างของการเป็นนักสันทนาการที่ดี หากเวลาปฏิบัติจริงแล้วก็ควรจะปรับใช้เพื่อให้เกิดความบันเทิงอย่างแท้จริง
รูปแบบของสันทนาการในประเทศไทย
การสันทนาการในเมืองไทยนั้นมีมานานกว่า 60 ปี โดยเริ่มจากการนันทนาการเข้าค่ายลูกเสือชาวบ้าน ดังนั้นเพลงและเกมในช่วงแรกจึงเป็นแบบลูกเสือชาวบ้าน จุดประสงค์หลักของเพลงและเกมนันทนาการในค่ายลูกเสือชาวบ้านนั้นเป็นไปเพื่อให้เกิดความบันเทิงและคลายเครียดสำหรับลูกเสือชาวบ้าน อีกทั้งยังเป็นการดึงดูดความสนใจของลูกเสือชาวบ้าน เนื่องจากลูกเสือชาวบ้านค่อนข้างเป็นผู้ที่มีอายุมากดังนั้นเพลงและเกมจึงต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของอายุและความสนใจ พัฒนาการของรูปแบบสันทนาการนั้นมักจะมาจากค่ายลูกเสือ-เนตรนารี ดังนั้นเพลงและเกมบางเพลงบางเกมนั้นมักจะไปซ้ำกับค่ายลูกเสือ บ่อเกิดสันทนาการที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของรูปแบบสันทนาการในปัจจุบันคือ ค่ายสิ่งแวดล้อม เป็นที่น่าสังเกตว่านักสันทนาการมักจะนำรูปแบบเพลงและเกมมาจากเพลงและเกมจากสิ่งแวดล้อมเกือบทั้งนั้น การใช้เกมและกิจกรรมตามแนวจิตวิทยาก็เป็นที่นิยมในการสันทนาการในปัจจุบัน เช่น เกมทายนิสัย การทายใจ เป็นต้น เราสามารถแบ่งรูปแบบของสันทนาการตามเกณฑ์ต่างๆได้ดังนี้
1. เกณฑ์ลักษณะของเพลงและเกม สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1.1 Ice breaking คือ เพลงและเกมเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมการประชุมหรือรวมกลุ่มนั้นมักจะมีความเกร็งและไม่แสดงความสามารถของตนออกมา ดังนั้นกิจกรรมนี้จะเป็นการช่วยลดความเกร็งและความกลัวที่จะเปิดตัวของผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี หรือเราอาจจะเรียกว่า กิจกรรมละลายพฤติกรรม ก็ได้ เช่น แนะนำตัวเอง (จำชื่อรอบวง) เป่ายิงฉุบชิงแชมป์โลก เป็นต้น
1.2 Humanication คือ กิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เมื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมแล้วนั้น กิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะยิ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ทำให้การอยู่ร่วมกันภายในจะง่ายขึ้น อีกทั้งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวพี่เลี้ยงและผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนบแน่นมากขึ้น กิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมักจะเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลานานและต้องแตะเนื้อต้องตัว ถ้าหากผู้นำสันทนาการหรือนักสันทนาการไม่ปูพื้นฐานในเรื่องการละลายพฤติกรรมมาก่อนแล้วจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการทำกิจกรรมนี้ กิจกรรมความสัมพันธ์ เช่น วิวาห์เหาะ เลขนรก ข้างขึ้นข้างแรม เป็นต้น
1.3 thinking method คือ กิจกรรมกระบวนการสร้างความคิด กิจกรรมนี้มักจะเป็นกิจกรรมหลักของค่ายหรือการประชุม กิจกรรมหลัก คือ ประเด็นสำคัญที่ใช้ในการเข้าค่าย เช่น ค่ายลูกเสือ กิจกรรมหลักมักเน้นเรื่องสามัคคี ดังนั้นกิจกรรม thinking method มักจะเป็น เดินทางไกล หรือภารกิจต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วจะจัดให้สอดคล้องกับประเด็นสำคัญของค่ายนั้นๆ เป็นต้น ดังนั้นกิจกรรมประเภท thinking method มักจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนานและกระบวนการคิดวิเคราะห์ ฉะนั้นกิจกรรมนี้ต้องใช้ความสามารถของนักสันทนาการอย่างสูงเพื่อระดมความคิดและสร้างความสนใจให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่ ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุ งานวัด walk really เป็นต้น
2. เกณฑ์ตามเนื้อหาสาระของกิจกรรม เราสารามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สันทนาการแบบทั่วไป และสันทนาการแบบลามกอนาจาร
2.1 สันทนาการแบบทั่วไป เป็นการสันทนาการสำหรับค่ายทั่วๆไป เช่น การออกค่ายลูกเสือ ค่ายสิ่งแวดล้อม ค่ายพัฒนาผู้นำ หรือ ค่ายสำหรับผู้ด้อยโอกาสต่างๆ สำหรับเนื้อหาสาระของสันทนาการแบบนี้มักจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดความสนใจ ละลายพฤติกรรม และเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนั้นสันทนาการแบบนี้มักจะไม่เป็นพิษภัยต่อวงสังคม อาจจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอายบ้าง ไม่กล้าแสดงออกบ้างแต่กิจกรรมสันทนาการทั่วไปก็ไม่ถึงกับอับอายมาก และสันทนาการแบบนี้จะไม่มีเนื้อหาที่เป็นลักษณะลามกอนาจาร เพลงและเกม วัจนกรรมต่างๆจะไม่มุ่งเน้น หรือส่อไปในทางกามมารมณ์
2.2 สันทนาการแบบลามก หรือที่เรียกว่า “สันฯกาม” มักจะมุ่งเน้นในเรื่องของเพศและกามารมณ์ การสันทนาการแบบนี้มีเพื่อละลายพฤติกรรมอย่างรุนแรงที่สุด เนื่องจากการสันทนาการเช่นนี้นั้นเป็นเสมือนดาบสองคม กล่าวคือ ประโยชน์ของสันทนาการแบบนี้มักจะมีจุดประสงค์เดียวคือ เน้นการละลายพฤติกรรมที่เรียกว่า “การละลายแบบก้นบึ้ง” คือ เป็นการละลายพฤติกรรมที่ยังติดค้างภายในใจ เช่น การแบ่งแยกระหว่างชาย-หญิง ความคิดอคติในเรื่องเพศ และความคิดเรื่องเพศรสในชาย-หญิง ดังนั้นการละลายพฤติกรรมด้วยกามารมณ์จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ความคิดเรื่องเพศในเรื่องของเพศรสในชาย-หญิงลดน้อยลง ในกรณีมักจะลดปัญหาเรื่องการคบกันเชิงชู้สาว และการคบกันเป็นแฟนได้มาก ส่วนโทษของการสันทนาการแบบนี้นั้นมีมากมายบางคนรับไม่ได้อายถึงกับฆ่าตัวตาย หรือเกิดอาการซึมเศร้า รวมทั้งเกิดอารมณ์ทางเพศได้ง่ายในผู้ชาย เช่น เกมกล้วย ไข่ลอดในกางเกง ซึ่งเกมนี้จะให้นำกล้วยและไข่ลอดตั้งแต่ชายกางเกงข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง โดยที่ฝ่ายชายจะเป็นผู้ถูกลอดส่วนฝ่ายหญิงจะใช้ได้แต่ปากเท่านั้นในการเคลื่อนของไข่และกล้วย เมื่ออวัยวะเพศชายสัมผัสกับกล้วยหรือไข่ หรือถูกปากของฝ่ายหญิงสัมผัส ก็มักจะเกิดปฏิกิริยาทางเพศขึ้น ซึ่งนำไปสู่การจินตนาการต่างๆ และจะนำสู่ปัญหาเชิงชู้สาวได้ ดังนั้นสันทนาการแบบนี้จึงจำเป็นต้องระวังในเรื่องการเกิดอารมณ์ทางเพศ รวมทั้งผู้นำสันทนาการและผู้ทำกิจกรรมร่วมนั้นต้องมีวิจารณาญาณและความระมัดระวังสูง
3. เกณฑ์อายุ เพศ วัย การสันทนาการตามเกณฑ์นี้มีข้อดีคือ สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพึงพอใจได้มากที่สุด เนื่องจากกิจกรรมนั้นตรงตามช่วงอายุ เพศ วัย เราสามารถแบ่งออกเป็น
3.1 สันทนาการสำหรับเด็ก เด็กในที่นี้นั้นจะเริ่มตั้งแต่ 5 – 13 ปี การสันทนาการสำหรับเด็กช่วงนี้จำเป็นต้องใช้เพลงง่ายๆสั้นๆ เพื่อให้ร้องติดปากและง่ายต่อการจดจำ เกมสำหรับเด็กในวัยนี้นั้นจึงควรเป็นเกมง่ายๆสั้นๆไม่ใช้เวลามาก เนื่องจากความจำและความสนใจมีน้อย เพลงและเกมที่เหมาะกับวัยนี้ คือ มาตามนัด เกมกระดาษ 9 ช่อง เกมเสือจับวัว เป็นต้น
3.2 สันทนาการสำหรับวัยแรกรุ่น ช่วงนี้จะเริ่มตั้งแต่ 14 – 18 ปี การสันทนการในช่วงอายุนี้ต้องการความน่าสนใจมากๆเพราะเป็นวัยอยากรู้อยากลอง ต้องการเอาชนะ กิจกรรม เพลงและเกมจึงเป็นเรื่องของการแข่งขันเพื่อให้ได้มาเพื่อชัยชนะ ผู้นำสันทนาการจะมีบทบาทในเรื่องของการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในเรื่องของความแพ้ชนะ สันทนาการในช่วงนี้อาจจะมีสันฯกาม แต่ไม่ควรจะมีมาก เนื่องจากความต้องการในเรื่องของเพศสำหรับเด็กวัยนี้มีอยู่มาก
3.3 สันทนาการสำหรับวัยรุ่น วัยรุ่นเต็มที่จะเริ่มตั้งแต่ 19 – 28 ปี จะเป็นการสันทนาการเพื่อดึงความสนใจกลับมาเสียมากกว่า เนื่องจากวุฒิภาวะนั้นมีมากและกิจกรรมหลักนั้นจะเป็นแบบ thinking method เป็นหลัก ดังนั้นกิจกรรมที่เป็น thinking method นั้นมักจะใช้เวลามากและยาวนานจำเป็นต้องใช้สันทนาการเพลงและเกมสั้นๆเพื่อดึงความสนใจกลับเข้ามา
3.4 สันทนาการสำหรับผู้ใหญ่ กล่าวคือ ตั้งแต่ 28 เป็นต้นไป กิจกรรมของช่วงวัยนี้มักจะเป็นไปตามสถานการณ์ เช่น การอบรมบุคลิกภาพของพนักงาน ทัวร์ หรือแม้แต่กิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ กิจกรรมของช่วงนี้จึงมักจะยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
การจำแนกการสันทนาการนั้นแม้จะมีหลายทฤษฎีและหลายเกณฑ์ในการจำแนก อย่างไรก็ตามแล้วนั้นนักสันทนาการควรเลือกใช้รูปแบบการสันทนาการตามความเหมาะสมของกาละและเทศะ อนึ่งนั้นควรดูสถานการณ์ของค่ายหรือการรวมกลุ่มด้วยเนื่องจากบางอย่างนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับจิตใจ ดังนั้นการพูดหรือให้ทำกิจกรรมบางอย่างอาจจะกระทบกระเทือนต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างยิ่ง รูปแบบของการสันทนาการที่เสนอไว้นี้อาจจะเป็นเพียงแนวทางในการทำสันทนาการ ฉะนั้นนักสันทนาการอาจจะสร้างรูปแบบใหม่เพื่อการสันทนาการได้
ขั้นตอนการสันทนาการ
การสันทนาการนั้นเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการคิด ฉะนั้นจึงต้องมีการจัดขั้นตอนการสันทนาการเพื่อให้เป็นระเบียบวิธี การสันทนาการจะได้ไม่ออกนอกกรอบที่วางไว้ จึงอาจจะแบ่งโดยคร่าวๆได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เกริ่นนำ (Introduction) ขั้นตอนนี้เป็นการปูพื้นฐานความคิดและเตรียมสภาพก่อนการทำกิจกรรมจริง การปูพื้นฐานความคิดจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นมีความพร้อมทางด้านความคิดมากขึ้นเมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมจริงนั้นจะได้ใช้เวลาน้อยลง อีกทั้งยังสามารถคิดแบบเชื่อมโยง (web link) ในขั้นตอนนี้จึงเริ่มด้วยการเล่นเกมละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้เข้าร่วมประชุม จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการอธิบายและทำความเข้าใจ ในขั้นนี้ผู้นำสันทนาการต้องอธิบายให้ชัดเจนไม่กำกวมเนื่องจากจะเป็นผลสืบเนื่องไปยังขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมหลัก (main activity) ในขั้นนี้นั้นผู้นำสันทนาการมีบทบาทเพียงเป็นผู้ชี้แนะไม่ใช่เป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรม กล่าวคือ นักสันทนาการอยู่ในฐานะผู้ช่วยให้กิจกรรมนั้นลุล่วงไปด้วยดี และยังเป็นผู้ที่กระตุ้น ระดมความคิดของผู้เข้าร่วมกิจกรรม หากว่าผู้ร่วมกิจกรรมทำกิจกรรมหลักไม่สำเร็จ ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ เมื่อไม่สำเร็จผลจะเป็นไปตามกติกาที่กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 3 สรุป (sumerize) การสรุปผลการดำเนินกิจกรรมนั้น เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากนักสันทนาการต้องเชื่อมโยงการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เข้าใจตามวัตถุประสงค์ อนึ่งนั้นการสรุปมีหลายวิธี ในที่นี้จะขอเสนอเพียง 3 วิธี ดังนี้ คือ วิธีแรก คือ การถาม การถามว่า “ได้อะไรจากกิจกรรมนี้” มักจะเป็นวิธีที่ยอดนิยมที่สุดเนื่องจากจะทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นได้คิดเชื่อมโยงเองว่าการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดนั้นได้ทำอะไรบ้างและในกิจกรรมแฝงนัยะอะไรไว้ แต่นักสันทนาการพึงควรจะระลึกถึงเสมอว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมักจะไม่ค่อยแสดงความคิดเห็น หรือแสดงความคิดเห็นเพียงคนหรือสองคนเท่านั้น ดังนั้นนักสันทนาการจึงต้องมีการกระตุ้นตลอดเวลา วิธีถัดมา คือ การพูดเชื่อมโยง วิธีจะใช้ในกรณีที่เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดได้เสนอความคิดเห็นทั้งหมดแต่ไม่สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมได้ ดังนั้นนักสันทนาการจึงต้องพูดสรุปอีกครั้ง วิธีสุดท้าย คือ การสรุปให้ฟังโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ กล่าวคือ เวลาในการทำกิจกรรมมีน้อยจึงอาจจะใช้การสรุปที่เตรียมมาเพื่อกระชับเวลาและเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
ขั้นตอนทั้งสามนี้เป็นเพียงขั้นตอนอย่างคร่าวๆเท่านั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงเพื่อให้ได้ตามจุดประสงค์ของกิจกรรมนั้นๆ ขั้นตอนเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่จะสามารถช่วยนักสันทนาการนั้นดำเนินกิจกรรมได้อย่างรวดเร็วและสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรับรู้ถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมด้วย

[1] ปรับปรุงจาก เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “การสันทนาการและการสรรค์สร้างงานสันทนาการ” ค่ายอบรมผู้นำสันทนาการ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ปีการศึกษา 2545-2546 วันที่ 1 – 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546
[3] ปรับปรุงจาก ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์.2546.ความคิดสร้างสรรค์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.

[B][en][g][i][li][ty]--Memorize

[B][en][g][i][li][ty]--Memorize
ทุกคำบรรยายเพียงจับจ้องและสัมผัสด้วยใจ